Page 11 - 96592bac17e59a8ee6705a569be30fa2
P. 11
2.3 ปลาทูโมเดล (TUNA MODEL)
การจัดการความรู้โดยใช้ปลาทูโมเดล (TUNA
MODEL) เป็นแนวคิดของ ประพนธ์ ผาสุขยืด
ื่
จากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพอสังคม
(สคส.) โดยเปรียบเทียบองค์ประกอบหลักของ
การจัดการความรู้กับปลา ซึ่งมีองค์ประกอบ 3
ส่วนคือ
- ส่วนหัวปลา เปรียบได้กับ Knowledge Vision: KV
หมายถึง ส่วนที่เป็นวิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ ก่อนลงมือท า KM จะต้อง
ื่
ก าหนดวิสัยทัศน์ว่า จะท า KM เพออะไรหรือจะมุ่งหน้าไปทางไหน เพอไม่ให้น าไปสู่ความผิดพลาดล้มเหลวได้
ื่
ง่ายคล้ายกับปลาตาบอด ที่ว่ายน้ าโดยมองไม่เห็นทิศทาง
- ส่วนกลางลําตัว เปรียบได้กับ Knowledge Sharing: KS
หมายถึง ส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share and Learn) ซึ่งเป็นส่วนที่ส าคัญที่สุดและ
ยากที่สุดในกระบวนการท า KM เพราะจะต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้บุคลากรยินยอมพร้อมใจที่จะแบ่งปัน
ความรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเครื่องมือในการท า KM เช่น CoP: Community of Practice ชุมชนนักปฏิบัติ Story
telling: การเล่าเรื่องประสบการณ์ความส าเร็จ KM Café เป็นต้น
- ส่วนที่เป็นหางปลา เปรียบได้กับ Knowledge Assets: KA
คลังความรู้ หรือ ฐานความรู้ขององค์กร เป็นที่เก็บรวบรวมความรู้ต่างๆ ซึ่งได้จากการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาจัดระบบให้เป็นหมวดหมู่ เพอสะดวกแก่การน ามาใช้ในการท างาน และปรับแต่งความรู้ให้
ื่
ทันสมัยอยู่เสมอ รวมทั้งมีการก าจัดความรู้ที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อให้คลังความรู้มีเฉพาะข้อมูลที่จ าเป็นเท่านั้น
การท า KM โดยใช้ปลาทูโมเดลที่สมบูรณ์ ต้องมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน แต่ส่วนใดจะส าคัญที่สุด
นั้น ขึ้นอยู่กับจุดเน้นของแต่ละองค์กร ซึ่งมีบริบทที่แตกต่างกัน ดังนั้น ปลาแต่ละตัว (แต่ละหน่วยงาน) จึงมี
รูปร่างไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการหรือจุดเน้นของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของตนเอง
9 | ห น้ า