Page 64 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 64

41


                              ๖.๓.๒ มีความมุ่งมั่นในการทำงานและแรงบันดาลใจในการเป็นผู้ประกอบการที่ใส่ใจชุมชน
                       และสังคมในอนาคต

                              ๖.๓.๓ มีความมุ่งมั่นใฝ่เรียนใฝ่รู้อยู่เสมอ

                       ๗. กิจกรรมการเรียนรู้
                              กิจกรรมการเรียนรู้โดยสังเขปทั้งในและนอกห้องเรียนดังนี้
                              ๗.๑ กิจกรรมที่ ๑ รู้จักกู่กาสิงห์

                              ๗.๑.๑ แบ่งกลุ่มนักเรียนคละตามความสามารถและความถนัด ศึกษาประวัติความเป็นมาของ
               กู่กาสิงห์ ตามประเด็นที่สนใจดังนี้ (๑ ชั่วโมง)
                                     (๑) ที่มาของชื่อกู่กาสิงห์
                                     (๒) ประวัติและที่มาการสร้างกู่กาสิงห์
                                     (๓) โบราณวัตถุที่ค้นพบในการขุดบูรณะกู่กาสิงห์

                                     (๔) อาคารหลักและอาคารประกอบ
                                     (๕) ประเพณีและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับกกาสิงห์
                                                                        ู่
                              ๗.๑.๒ นักเรียนแต่ละกลุ่มใช้วิธีศึกษารวบรวมขอมูล หลักฐาน ดังนี้ (๒ ชั่วโมง)
                                                                    ้
                                     (๑) สัมภาษณ์ปราชญ์ชุมชน (ดร.อำคา  แสงงาม)
                                     (๒) ลงพื้นที่สำรวจชุมชน
                                     (๓) ศึกษาเอกสารเปรียบเทียบจากแหล่งต่าง ๆ มากกว่า ๒ แหล่ง
                                     (๔) ดูคลิปจากสื่อโซเชียลมีเดีย

                                                                                      ึ
                              ๗.๑.๓ สรุป ประวัติและความเป็นมาตามประเด็นที่แต่ละกลุ่มเลือกศกษา ผ่าน
                       เอกสารรายงาน (๒ ชั่วโมง)
                                     (๑) แต่ละกลุ่มนำเสนอประเด็นที่ตนสนใจ ตามข้อสรุปที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า
                                     (๒) ครูและผู้ทรงคุณวุฒิ (ดร.อำคา  แสงงาม) ให้ข้อเสนอแนะเพมเติม
                                                                                         ิ่
                              ๗.๑.๕ ฝึกนำเสนอประวัติและความเป็นมาของกกาสิงห์ต่อนักท่องเที่ยว (๕ ชั่วโมง)
                                                                     ู่
                                     (๑) ฝึกใช้เสียงในการนำเสนอและภาษาท่าทางในการนำเสนอในชั้นเรียนร่วมกัน
                                     (๒) แต่ละกลุ่มนำเสนอในสถานที่จริง โดยให้เพื่อนสมมติเป็นนักท่องเที่ยวซักถาม
               พร้อมบันทึกคลิปในการฝึกไว้

                                     (๓) แต่ละกลุ่ม ดูการนำเสนอของเพื่อนจากคลิป พร้อมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ (ดร.อำคา
               แสงงาม) และคุณครูที่ปรึกษาชมรมให้ข้อเสนอแนะ
                                     (๔) นักเรียนทดลองนำเสนอโบราณสถานกู่กาสิงห์ในสถานที่จริง และนำเสนอต่อ

               นักท่องเที่ยวจริงแต่เป็นคณะผู้ทรงคุณวุฒิและครูที่ปรึกษาขอความร่วมมือสมมติเป็นนักท่องเที่ยว (อาทิ คณะ
               ศึกษานิเทศก์ หรือ อบต.กู่กาสิงห์ เป็นต้น)
                              ๗.๒ มัคคุเทศก์น้อยออกปฏิบัติงาน (๕ ชั่วโมง)
                                     ๗.๒.๑ มัคคุเทศก์น้อย ไปเป็นผู้ช่วยนำเสนอโบราณสถานกกาสิงห์กับมัคคุเทศก์น้อย
                                                                                     ู่
               รุ่นพี่ ตามโอกาสที่มีนักทองเที่ยวติดต่อประสานงานเข้าเที่ยวชม โดยปฏิบัติหน้าที่นำเสนอเฉพาะจุดที่ตนมี
                                   ่
               ความถนัด
                                     ๗.๒.๒ มัคคุเทศก์น้อย นำเสนอกู่กาสิงห์ผ่านคลิปและเผยแพร่ในสื่อโซเชียลมีเดีย
               เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมกู่กาสิงห์ (สร้างกระแสไวรัลบนอินเตอร์เน็ต)

               โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอ
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69