Page 68 - หลักสูตรประวัติศาสตร์ฯ จ.ร้อยเอ็ด
P. 68
45
๘.๓ บุญบั้งไฟกับงานศิลปะ ภาพวาด การแกะสลักลวดลาย หมวก เครื่องประดับและเสื้อผ้าที่สวมใส่
ในงานบุญประเพณีบั้งไฟ สู่ช่องทางการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
๘.๔ บทร้องเพลงเซิ้งบั้งไฟ ที่สแดงถึงตำนานความเป็นมาของปะเพณีบุญบั้งไฟ และสภาพความ
จำเป็นทางภูมิศาสตร์ที่แห้งแล้ง
ื่
๘.๕ ท่าฟ้อนรำเซิ้งบั้งไฟ ที่เกี่ยวข้องกับการทำท่ากบ และการบูชากบเพอขอฝนของมนุษย์ที่อาศัยอยู่
ในอุษาคเนย์เมื่อ ๒,๕๐๐ ปีก่อน
๘.๔ การมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชนในประเพณีบุญบั้งไฟ
๙. กิจกรรมการเรียนรู้
๙.๑ ศึกษาความเป็นมาเกี่ยวกับบุญบั้งไฟด้านต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับสภาพภูมิศาสตร์และสังคมอีสาน
โดยเฉพาะทุ่งกุลาร้องไห้ (เชื่อมโยงอดีต)
- กิจกรรมการเรียนรู้ภาพวาดกบ การบูชากบของชนเผ่าทางตอนใต้ของจีนและทางเหนือของ
เวียดนาม เชื่อมโยงนิทานพญาคันคาก และผาแดงนางไอ ่
- นักเรียนเชื่อมโยงการจุดบั้งไฟขอฝน กับการสภาพภูมิศาสตร์ และการประกอบอาชีพทำนา
- นักเรียนร้องเพลงเซิ้งบุญบั้งไฟที่เกี่ยวกับตำนานการขอฝน พญาคันคากและผาแดงนางไอ ่
้
- นักเรียนฟ้อนรำเซิ้งบุญบั้งไฟ เชื่อมโยงท่าฟอนรำกับท่ากบของชนเผ่าโบราณ
๙.๒ เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของประเพณีบุญบั้งไฟในอดีตกับปัจจุบัน และความ
แตกต่างระหว่างประเพณีบุญบั้งไฟแต่ละพื้นที่ (เชื่อมโยงปัจจุบัน)
- ศึกษาบุญบั้งไฟในอดีตจากนิทานเรื่องผาแดงนางไอ ่
- ศึกษาสภาพบุญบั้งไฟในอดีตจากเอกสาร ภาพถ่าย
่
- ศึกษาบุญบั้งไฟในปัจจุบันจาก MV เพลงนางไอของอ้าย เอกสาร ภาพถ่ายในปัจจุบัน
- ศึกษาประเพณีบุญบั้งไฟของท้องถิ่นอื่น เช่น บวดควายจ่า ของเชียงขวัญ ,หรือบุญบั้งไฟใน
ญี่ปุ่น และลาว
- นักเรียนประดิษฐ์ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในบุญบั้งไฟ เช่น หมวกกาบเซิ้งบั้งไฟ เครื่องประดับ
เสื้อผ้าที่ใช้ อุปกรณ์ประกอบการแห่งบั้งไฟ (ภาพวาด) พร้อมทั้งอธิบายได้ว่าอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้น มีส่วน
สำคัญในการจัดประเพณีบุญบั้งไฟอย่างไร
๙.๓ การสร้างสรรค์ประเพณีบุญบั้งไฟตามความรู้และความเข้าใจของเด็กและเยาวชน (สร้างสรรค์
อนาคต)