Page 103 - Advande_Management_Ebook
P. 103

พลต�ารวจตรี ดร.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ                              101



                    2. ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่รวบรวมได้ง่าย จัด
             ระบบและถ่ายโอนโดยใช้วิธีการดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective) เป็นทฤษฏี

             สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ ไม่จ�าเป็นต้องอาศัย
             การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อถ่ายทอดความรู้ เช่น นโยบายขององค์กร กระบวนการ
             ท�างาน ซอฟต์แวร์ เอกสาร และกลยุทธ์ เป้าหมายและความสามารถขององค์กร



             กำรบริหำรแบบสมดุลย์ (Balanced Scorecard: BSC)


                    การบริหารงานแบบสมดุลย์ (BSC) Kaplan, Robert S.; & Norton, David

             P. (2008: 1) ได้กล่าวไว้ใน บทแรกของค�าแนะน�าในหนังสือที่แต่งชื่อ The Execution
             Premium ว่า “Strategy without tactics is the slowest route to victory.
             Tactics without strategy is the noise before defeat.” นั้นคงให้ความหมาย

            ได้ว่า “กลยุทธ์ที่ไม่มียุทธวิธี เป็นเส้นทางที่ช้าที่สุดเพื่อชัยชนะ ยุทธวิธีปราศจาก
            กลยุทธ์ คือสัญญานก่อนการพ่ายแพ้”

                    Balanced Scorecard  เป็นกลยุทธ์ในการบริหารงานสมัยใหม่ และได้รับ
            ความนิยมไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย Balanced Scorecard ได้ถูกพัฒนาขึ้น
            เมื่อปี 1990 โดย Dr.Robert Kaplan จาก Harvard Business School และ David

            Norton จาก Balanced Scorecard Collaborative โดยตั้งชื่อระบบนี้ว่า
            “Balanced Scorecard” เพื่อที่ผู้บริหารขององค์กรจะได้รับรู้ถึงจุดอ่อน และความ

            ไม่ชัดเจนของการบริหารงานที่ผ่านมา Balanced Scorecard จะช่วยในการก�าหนด
            กลยุทธ์ในการจัดการองค์กรได้ชัดเจน โดยดูจากผลของการวัดค่าได้จากทุกมุมมอง
            เพื่อให้เกิดดุลยภาพในทุก ๆ ด้าน มากกว่าที่จะใช้มุมมองด้านการเงินเพียงด้านเดียว

            อย่างที่องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ค�านึงถึง เช่น รายได้ ก�าไร ผลตอบแทนจากเงินปันผล
            และราคาหุ้นในตลาด เป็นต้น การน�า Balanced Scorecard มาใช้จะท�าให้ผู้บริหาร

            มองเห็นภาพขององค์กรชัดเจนยิ่งขึ้น ในการบริหารประเทศไทยโดยการใช้งบ
            ประมาณแผ่นดินในแต่ละปีงบประมาณรัฐบาลก็ได้ประยุกต์การบริหารงานแบบสม
            ดุลย์ไว้ในการจัดท�ายุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณทุกปีที่ผ่านมา มีเป้าหมาย ตัว

            ชี้วัด ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับปรากฏอยู่เพื่อใช้ขับเคลื่อนประเทศ
            ในภาคค่าใช้จ่ายของรัฐบาล (Goverment Expense)
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108