Page 102 - Advande_Management_Ebook
P. 102
100 เอกสารประกอบการสอน : การจัดการขั้นสูง
ถึงปัจจัยที่ส�าคัญขององค์กร อันได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม ภาวะผู้น�า การติดต่อ
สื่อสารและเทคโนโลยี ตลอดจนปัจจัยด้านการบริหารงานในการองค์กรด้วย การจัด
บรรยากาศ การเพิ่มอ�านาจสมาชิก การพัฒนาบุคคลและทีมงาน การให้รางวัล
(สุพิศาล ภักดีนฤนาถ. 2557: 34-36)
กำรจัดกำรควำมรู้ (Knowledge Management: KM)
การจัดการความรู้ หรือ KM คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน
และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจากข้อมูลไปสู่สารสนเทศ เพื่อให้
เกิดความรู้และปัญญาในที่สุดการจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงาน
ที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์
ในการน�าไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันน�าไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จ�าเป็นส�าหรับการด�าเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาด
ใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรส�าหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมัก
จะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากร
มนุษย์ รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ
องค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพการท�างาน เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน หรือเพื่อเพิ่มระดับ
นวัตกรรมให้สูงขึ้น
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) นั้นมีองค์ความรู้ที่ประกอบ
เป็นสองส่วน คือ
1. ความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบาย
โดยใช้ค�าพูดได้ มีรากฐานมาจากการกระท�าและประสบการณ์ มีลักษณะเป็นความ
เชื่อ ทักษะ และเป็นอัตวิสัย (Subjective) ต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความช�านาญ
มีลักษณะเป็นเรื่องส่วนบุคคล มีบริบทเฉพาะ (Context-specific) ท�าให้เป็นทางการ
และสื่อสารยาก เช่น วิจารณญาณ ความลับทางการค้า วัฒนธรรมองค์กร ทักษะ ความ
เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ การเรียนรู้ขององค์กร ความสามารถในการชิมรสไวน์ หรือ
กระทั่งทักษะในการสังเกตเปลวควันจากปล่องโรงงานว่ามีปัญหาในกระบวนการผลิต
หรือไม่