Page 209 - Advande_Management_Ebook
P. 209
พลต�ารวจตรี ดร.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ 207
ความเหมือนกันทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยหลักการจัดการขั้นสูงนั้นสามารถ
ใช้และประสบความส�าเร็จในภาคเอกชน ก็มีความเป็นไปได้ที่จะไปใช้เป็นแนวทางหลัก
ในการจัดการมาใช้กับองค์การภาครัฐและส่งผลให้เกิดความส�าเร็จคล้ายกัน เพียงแต่
ด้านปรัชญาและเทคนิคในการบริหารงาน เอกชนมุ่งหมายผลประโยชน์เป็นส่วนบุคคล
โดยยึดเอาองค์กรเป็นหลักได้ ในขณะที่ภาครัฐมุ่งถึงประโยชน์สาธารณะของประชาชน
และงานบริการ อาจที่จะต้องใช้มองไปถึงบริบททางการเมืองที่เป็นประโยขน์ต่อสังคม
และตลอดจนความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะเกิดขึ้นอีกมากมาย จึงสรุปได้ว่า แนวคิด
การจัดการชั้นสูง 1) มุ่งเน้นประสิทธิผล สร้างประสิทธิภาพ ค�านึงถึงคุณธรรมจริยธรรม
และการก�ากับการที่ดี 2) มุ่งเน้นความพึงพอใจของผู้รับบริการ คุณภาพที่ดี ความ
รวดเร็วในการบริการ สร้างแบรนด์ที่มีคุณค่า และ 3) มุ่งเน้นหลักความรับผิดชอบต่อ
สังคม รักษ์โลก สร้างสมดุลของธรรมชาติและสิทธิต่างๆ ของคน จึงท�าให้องค์กรต้อง
ปรับตัวเพื่อความเข้มแข็งอยู่รอดและเพิ่มขีดความสามารถ ในส่วนใหญ่แนวคิดการ
จัดการขั้นสูงดังกล่าวนี้ไปใช้และประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมในเครื่องมือการจัดการขั้น
สูง เข่น Theory-Z, Kaizen, Mc Kinsey 7’s, Re-engineering, High Performance
Organization, Knowledge Management, Learning Organization, Balanced
Scorecard Benchmarking, LEAN Management, Just in Time System, Six
Sigma, Total Quality Management, Quality Management Tools and etc.,
Agile Management
สรุป การจัดการขั้นสูง (Advanced Management) หมายถึง
กระบวนการร่วมกันในการท�างานด้วยการวางแผนการจัดการการน�าและการ
ควบคุมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลตามเวลาที่เหมาะสมอย่างเป็นธรรม โดยจะต้องให้ความสนใจมุ่งเน้นใน
พฤติกรรมของมนุษย์ที่จะจัดการกับสิ่งต่างๆ เพื่อผสมผสานกับศาสตร์อื่นๆ ที่จ�าเป็น
อย่างรวดเร็ว กระชับ คล่องตัวในสถานการณ์ใดๆ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ในระดับ
บุคคล กลุ่มคน และองค์กร ให้เกิดความแข็งแกร่งท�าให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดโดย
การท�างานร่วมกันของบุคคล เน้นการใช้ทรัพยากรมนุษย์เป็นส�าคัญ และหมั่นพัฒนา
รูปแบบอย่างต่อเนื่องตามกาลเวลาและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เพื่อให้เกิดความยั่งยืน