Page 93 - Advande_Management_Ebook
P. 93
พลต�ารวจตรี ดร.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ 91
แนวคิด “Kaizen” เป็นแนวคิดที่ถือก�าเนิดขึ้นจากประเทศญี่ปุ่น และ
ประเทศไทยได้รับมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม โดยเป็นแนวคิดที่นิยมมากในวงการงาน
ด้านอุตสาหกรรม เพราะช่วยในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหา และท�าให้เกิดการ
สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นอีกด้วย ดังนั้น Kaizen จึงเป็นแนวคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่
ดียิ่งขึ้น ซึ่งนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในหน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆ โดยเน้นหลัก
ปฏิบัติส�าคัญ 3 อย่างด้วยกันคือ เลิก ลด และเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง (Continuous
Improvement) หรืออาจจะบอกได้ว่า แนวคิด Kaizen เป็นการลดและเลิกขั้นตอน
ที่ไม่จ�าเป็น ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบการท�างานอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละส่วน เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพการท�างานที่ดียิ่งขึ้น รวมถึงท�าให้สภาพแวดล้อมในการท�างานดียิ่งขึ้น
อีกด้วย โดยเป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งเป็นหัวใจส�าคัญในแนวคิด
Kaizen เป็นการปรับยกระดับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องที่ซึ่งเป็นพื้นฐานบนหลักการ
น�าทางที่ชัดเจน ถือว่าเป็นกระบวนการที่ดีจะน�าไปสู่ผลส�าเร็จที่ดีและสามารถมอง
เห็นด้วยตนเอง เพื่อใช้ความสามารถในการเข้าใจเพื่อยึดจับให้แน่นถึงสถานการณ์
ปัจจุบัน การน�าเอาข้อมูลมาใช้การจัดการในปัญหาที่เกิดขึ้นและปฏิกิริยาโต้กลับเพื่อ
ยับยั้งและแก้ไขสาเหตุของรากของปัญหาด้วยการท�างานเป็นทีม Kaizen เป็นของ
ธุรกิจของทุก ๆ คน
กรอบกำรท�ำงำนแบบ Mc Kinsey 7’s
McKinsey 7-S Framework โธมัส เจ ปีเตอร์ส (Thomas J. Peters) และ
โรเบิร์ต เอช วอเตอร์แมนจูเนียร์ (Robert H.Waterman,Jr.) ในการค้นหาความเป็น
เลิศ ในช่วงต้นปี 1977 พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความส�าเร็จในการด�าเนินงานนอกจาก
กลยุทธ์และโครงสร้าง ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์เชื่อมโยงกันทั้งหมด 7 ปัจจัย
ซึ่งตัวแปร 2 ตัวแรกคือโครงสร้าง (Structure) และ/กลยุทธ์ (Strategy) เปรียบเสมือน
เป็นส่วนที่เรียกว่าฮาร์ดแวร์ ซึ่งในอดีตให้ความสนใจ ส่วนตัวแปรอีก 5 ตัวที่ค้น
พบใหม่ในอดีตมักไม่ให้ความสนใจมากนัก ซึ่งเปรียบเสมือนซอฟท์แวร์ คือ ระบบ
(System) คุณค่าร่วม (Shared Value) รูปแบบ (Style) สนับสนุน (Staff) ทักษะ
(Skills) และมีความหมายดั่งนี้