Page 50 - 2557 เล่ม 1
P. 50
๕๐
จําเลยต้องคําพิพากษาว่าได้กระทําความผิดในคดีส่วนอาญาหรือไม่ ตามบทบัญญัติ
แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๗ วรรคหนึ่ง ส่วนจําเลย
ทั้งสองอ้างว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยนั้น จําเลยทั้งสองเป็นผู้มี
ภาระการพิสูจน์ แต่จําเลยทั้งสองนําสืบแต่เพียงว่า จําเลยทั้งสองได้ตรวจตราดูแล
อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อย่างวิญํูชนพึงกระทํา และจะถอดปลั๊ก
อุปกรณ์ไฟฟ้าและสับเบรกเกอร์ลงเพื่อตัดกระแสไฟฟ้าภายในร้านทุกครั้งที่ปิดร้าน
หรือออกจากร้าน ขณะเกิดเหตุจําเลยทั้งสองไม่ได้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและเหตุเกิดจาก
ไฟฟ้าลัดวงจรในระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นการนําสืบว่าจําเลยทั้งสองใช้ความระมัดระวัง
ดูแลและบํารุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างดีและมิได้ประมาทเลินเล่อ แต่ไม่ได้พิสูจน์
ให้เห็นว่าการที่เต้ารับอุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดการสะสมความร้อนจนทําให้กระแสไฟฟ้า
ลัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้อย่างไร จึงฟงงไม่ได้ว่าเหตุ
เพลิงไหม้เกิดแต่เหตุสุดวิสัย จําเลยทั้งสองจึงไม่พ้นความรับผิดแม้จะมิได้ประมาท
เลินเล่อก็ตาม จําเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ พิพากษามา ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจําเลยทั้งสองฟงงไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
(นุจรินทร์ จันทร์พรายศรี – วิวรรต นิ่มละมัย – ปกรณ์ มหรรณพ)
ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ - ย่อ
อดุลย์ ขันทอง/วิรัช ชินวินิจกุล - ตรวจ