Page 83 - 2557 เล่ม 1
P. 83
๘๓
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟงงเป็นยุติตามคําพิพากษาศาลล่างทั้งสอง
ว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์หมายเลขทะเบียน ๓ษ – ๘๕๗๐ กรุงเทพมหานคร
จําเลยเป็นผู้ครอบครองรถยนต์หมายเลขทะเบียน บค ๙๙๘๙ พะเยา เมื่อวันที่
๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๐ รถยนต์ของโจทก์ จําเลย และบุคคลภายนอกรวม ๕ คันเฉี่ยวชนกัน
และได้รับความเสียหาย โดยจําเลยขับรถยนต์ชนท้ายรถยนต์ของโจทก์ ต่อมาโจทก์
จําเลยและบุคคลภายนอกได้ตกลงกันต่อหน้าพนักงานสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวนได้
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจําเลยมีใจความว่า “...ข้อ ๓ นายประยงค์ฯ (จําเลย)
ตกลงยินยอมนํารถยนต์เก๋ง ออดี้ ของนางสาวปราณีฯ (โจทก์) ไปซ่อมให้อยู่ในสภาพเดิม
ใช้การได้ดี รับเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยนําไปซ่อมที่อู่เศวตยนต์...” จากนั้น
นางจุไรรัตน์ และจําเลยยอมรับสารภาพในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้
ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย โดยยอมให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับเป็นเงินคนละ
๔๐๐ บาท แล้วลงลายมือชื่อโจทก์ จําเลย บุคคลภายนอก และพยาน หลังจาก
ตกลงกันแล้วโจทก์ได้นํารถยนต์ไปซ่อมที่อู่เวียตนามการช่างในจังหวัดเชียงใหม่
จําเลยจึงไม่ยอมใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คดีมีปงญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจําเลยประการแรกว่า จําเลยต้องรับผิด
ชําระค่าซ่อมรถยนต์แก่โจทก์หรือไม่ เห็นว่า สาระสําคัญของข้อตกลงตาม
รายงานประจําวันเกี่ยวกับคดี คือจําเลยตกลงยินยอมนํารถยนต์ของโจทก์ไปซ่อม
ให้อยู่ในสภาพเดิมใช้การได้ดี รับเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด อันเป็นการยอมรับผิด
ในละเมิดที่ตนได้ทําต่อโจทก์และยินยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น แม้จะ
ระบุให้นําไปซ่อมที่อู่เศวตยนต์ดังที่กําหนดไว้ แต่เมื่อจํานวนค่าเสียหายยังไม่อาจ
ทราบได้อย่างชัดเจนในขณะนั้นว่ามีจํานวนเท่าใดที่พอจะอนุมานได้ว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่าย
ประสงค์ให้ระงับสิทธิและหน้าที่อันเกิดแต่มูลละเมิดให้เสร็จสิ้นไปโดยการบังคับให้
เป็นไปตามข้อตกลงตามรายงานประจําวันเกี่ยวกับคดี ในอันที่จะถือว่าข้อตกลง
ตามรายงานประจําวันเกี่ยวกับคดีเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งผูกพันให้
คู่กรณีจักต้องปฏิบัติไปตามนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๒
โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากจําเลยในมูลหนี้ละเมิดโดยนํา
รถยนต์ไปซ่อมที่อู่อื่นนอกเหนือไปจากอู่ที่กําหนดไว้ได้ เป็นแต่จําเลยอาจโต้แย้งได้ว่า