Page 80 - 2557 เล่ม 1
P. 80
๘๐
ผู้เสียหายที่ ๑ ให้เบิกความเท็จ ทั้งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่
ผู้เสียหายที่ ๑ และวงศ์ตระกูล จึงไม่น่าจะมีการกลั่นแกล้งจําเลยโดยแต่งเรื่องเสื่อมเสียเช่นนี้
สําหรับคําเบิกความของพันตํารวจเอกนายแพทย์พัฒนานั้น แม้จะไม่ได้ยืนยันว่า
สิ่งที่สอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ ๑ คืออะไร แต่เมื่อพิจารณา
ประกอบกับคําเบิกความของผู้เสียหายที่ ๑ แล้ว ก็คืออวัยวะเพศของจําเลยนั่นเอง
และแม้ขณะผู้เสียหายที่ ๒ พาผู้เสียหายที่ ๑ ไปแจ้งความร้องทุกข์ แต่ไม่ได้ระบุว่า
จําเลยเป็นคนร้ายโดยเพียงแต่ใช้คําว่า สงสัยจําเลยเท่านั้นก็อาจเป็นเพราะต้องการให้
พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานและพิจารณาว่าจําเลยใช่คนร้ายหรือไม่
กรณีที่ไม่พบน้ําอสุจิในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ ๑ ก็ไม่ใช่ข้อสรุปว่าไม่มีการ
กระทําชําเราผู้เสียหายที่ ๑ เพราะอาจมีการหลั่งน้ําอสุจินอกอวัยวะเพศก็ได้ เห็นว่า
พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ําหนักให้รับฟงงได้ ที่จําเลยนําสืบปฏิเสธว่าไม่ได้กระทําชําเรา
ผู้เสียหายที่ ๑ วันเวลาเกิดเหตุ มีพนักงานในร้านอาหารที่เกิดเหตุประมาณ ๒๐ คน
และมีคนมารับประทานอาหารมาก ไม่น่าจะมีการกระทําความผิดตามฟ้องได้นั้น
เห็นว่า ขณะเกิดเหตุบุคคลเหล่านั้นอาจจะสนใจเรื่องที่ตนกําลังทําอยู่ จึงไม่ได้สนใจว่า
มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นในห้องน้ําก็เป็นได้ จึงยังไม่มีน้ําหนักเพียงพอให้รับฟงง
จําเลยฎีกาอีกว่า ผู้เสียหายที่ ๒ เป็นบิดาของผู้เสียหายที่ ๑ ต้องการให้จําเลยได้รับโทษ
และยังเป็นล่ามให้ผู้เสียหายที่ ๑ แสดงว่าขาดความยุติธรรมแก่จําเลยและ
ขาดความน่าเชื่อถือ เห็นว่า ศาลฎีกาวินิจฉัยมาข้างต้นแล้วว่าไม่ปรากฏเหตุให้เห็นว่า
จะมีการกลั่นแกล้งจําเลยด้วยเหตุอันใด ข้ออ้างของจําเลยดังกล่าวจึงไม่มีน้ําหนักให้รับฟงง
พยานหลักฐานของจําเลยไม่อาจฟงงหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ที่ศาลล่าง
ทั้งสองพิพากษาลงโทษจําเลยโดยวินิจฉัยให้เหตุผลมาโดยละเอียดแล้วนั้น
ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจําเลยฟงงไม่ขึ้น
พิพากษายืน
(พีรพล พิชยวัฒน์ – วีรา ไวยหงษ์ รินทร์ศรี – รังสรรค์ ดวงพัตรา)
ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ - ย่อ
อดุลย์ ขันทอง/วิรัช ชินวินิจกุล - ตรวจ