Page 230 - วารสารกฎหมาย ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษ
P. 230

วารสารกฎหมาย ศาลอุทธรณ์คดีชำานัญพิเศษ




                                                             29
                   ี
            ไม่ควรท่จะส่งผลต่อการตัดสินใจ หรือพฤติกรรมทางธุรกิจ  เน่องจากภาษีมูลค่าเพ่มมีการจัดเก็บ
                                                                                  ิ
                                                                 ื
            ในทุกข้นตอนของธุรกรรม โดยอนุญาตให้มีการหักภาษีโดยผู้ประกอบการได้ตลอดสาย ยกเว้นแต่
                  ั
            ผู้บริโภคคนสุดท้ายเท่านั้น ดังนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มจึงมีความเป็นกลางไม่ว่าจะพิจารณาจากชนิด
                                                                       ี
            ของสินค้า โครงสร้างการกระจายสินค้า และปัจจัยการผลิต ในขณะท่การจัดเก็บภาษีสรรพสามิต
            มีความแตกต่างออกไป เนื่องจากมักจะจัดเก็บจากสินค้าบางประเภทที่กําหนดเอาไว้ ในเวลาที่
            สินค้าจะเข้าสู่ตลาดซึ่งมักเป็นระยะท้าย ๆ ในสายการผลิต ดังนั้น ภาษีสรรพสามิตจึงแตกต่าง
            จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะกระทบกับผู้เสียภาษีบางกลุ่มในเวลาที่มีการผลิตหรือขายส่ง
                                                                                     30
                    1.3.3 ฐานภาษีความมั่งคั่ง (Wealth Base)
                                                ั
                                                      ื
                    การคิดฐานภาษีจากความม่งค่งสืบเน่องมาจากความต้องการกระจายรายได้ของ
                                             ั
            ประชาชนให้เท่าเทียมกัน ประกอบกับเป็นไปได้อย่างมากว่า ผู้ที่มีความมั่งคั่งมากจะมีอิทธิพล
            ต่อการเมืองและการปกครองประเทศ ซ่งจะทําให้เกิดความไม่ชอบธรรมในนโยบายการปกครอง
                                               ึ
                    31
            ประเทศ
                    หากพิจารณาเร่องเหตุผลการกระจายรายได้เป็นหลัก การคิดฐานภาษีจากความม่งค่ง
                                                                                              ั
                                 ื
                                                                                           ั
            จะเป็นภาษีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดมากกว่าภาษีรูปแบบอื่น ๆ เช่น ภาษีรายได้ ภาษีการบริโภค
            ภาษีทรัพย์สิน เพราะสามารถกําหนดหลักเกณฑ์ว่าบุคคลที่มีทรัพย์สินเท่าใดจึงจะถือว่ามีความ

            มั่งคั่ง  เพราะบุคคลที่มีความมั่งคั่งมากกว่าจะอยู่ในสถานะที่มีความสามารถในการเสียภาษีได้
                 32
                                                                   ิ
                                                                      ี
                                                             ึ
            มากกว่า แม้ว่าจะมีรายได้เข้ามาในช่วงปีภาษีเท่ากัน ซ่งเป็นส่งท่ไม่อาจแยกความแตกต่างได้
            สําหรับกรณีฐานภาษีรายได้
                    ตัวอย่างเช่น บุคคลที่มีรายได้ ปีละ 500,000 บาท จากการลงทุน 10,000,000 บาท

                                                                       ี
            ก็สมควรท่จะเสียภาษีมากกว่าบุคคลท่มีรายได้ปีละ 500,000 บาท ท่มาจากการจ้างแรงงานเพียง
                     ี
                                             ี
            อย่างเดียวเท่านั้น 33



                    29   Christiane Malke, Taxation of European Companies at the Time of Establishment and Restructuring,
            p. 16.
                    30   OECD, Consumption Tax Trends 2014 VAT/GST and Excise Rates, Trends and Policy, pp. 20 - 23.
                    31   William Gale, James Hines and Joel Slemrod, Rethinking Estate and Gift Taxation (Washington DC:
            The Brookings Institution, 2001) , pp. 191 - 193.
                    32   Olivier Blanchard and Dani Rodrik, Combating Inequality: Rethinking Government’s Role (USA: The
            MIT Press, 2021), p. 157.
                    33   เป็นตัวอย่างท่เปรียบเทียบไว้ใน Richard Goode,  Government Finance in Developing Countries
                                ี
            (Washington DC: Brookings Institution Press, 1984), p. 133.



            228
   225   226   227   228   229   230   231   232   233   234   235