Page 33 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 33
23
1.3 ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
การสอนคณิตศาสตร์นั้นมีทฤษฎีที่สามารถจะน ามาใช้ได้มากมาย แต่ในที่นี้ผู้วิจัย
พิจารณาเฉพาะที่ส าคัญ ๆ เท่านั้น
วรรณี โสมประยูร (2526 : 32) ได้กล่าวถึง กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
ไว้ว่า จ าเป็นต้องน าทฤษฎีการเรียนรู้ที่ส าคัญมาใช้ 4 ทฤษฎีด้วยกัน คือ
1. ทฤษฎีเชื่อมโยงจิตส านึกของ Herbart เป็นทฤษฎีเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการ
รับรู้เน้นการรับรู้ที่เร้าความสนใจและสร้างความสนใจให้แก่ผู้เรียนด้วยกิจกรรมที่เป็น
รูปธรรม ได้แก่ สื่อการสอน หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนต่อความรู้
ใหม่กับความรู้เดิมที่เก็บสะสมไว้
2. กฎเชื่อมโยงสภาพการณ์จากสิ่งเร้าและสิ่งตอบสนองของ Thorndike
เป็นการตอบสนองสิ่งเร้ากับการตอบสนองผู้เรียนในแต่ละขั้นอย่างต่อเนื่องโดยอาศัยการ
เรียนรู้ 3 กฎ คือ
2.1 กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) หากผู้เรียนมีความพร้อมที่จะ
ท าและได้กระท าเช่นนั้นย่อมเกิดความพึงพอใจ แต่ถ้าไม่พร้อมที่จะกระท าย่อมท าให้เกิด
ความร าคาญ
2.2 กฎของการฝึกหัดหรือการกระท าซ ้า (The Law of Repetition) การได้
ตอบสนองสิ่งเร้ามากครั้งเท่าใด สิ่งนั้นย่อมจะคงอยู่คงทนได้มากเท่านั้น
2.3 กฎแห่งผล (Law of Effect) หรือกฎของความพึงพอใจและความไม่
พอใจ การตอบสนองจะมีมากขึ้นหากเกิดความพึงพอใจและจะน้อยลงหากเกิดความไม่
พอใจ
3. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Operant Conditioning) ของ Skinner ในการเรียนรู้
จะแบ่งวัตถุประสงค์ของการเรียนออกเป็นส่วนย่อย ๆ มากมาย ซึ่งแต่ละส่วนจะถูกเสริมแรง
เป็นส่วนไป แต่ต้องก าหนดจังหวะและรูปแบบในการเสริมแรงให้เหมาะสม