Page 35 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 35
25
3. ทฤษฎีพัฒนาการ (Developmental Theory) ทฤษฎีนี้ยึดหลักจิตวิทยาของ
Piaget และ Bruner มีรายละเอียด ดังนี้
3.1 ทฤษฎีเกี่ยวกับเชาว์ปัญญา Piaget กล่าวว่า มนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดมา
พร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการจัดรวบรวมข้อมูลและการปรับตัวแบบการ
ซึมซาบหรือดูดซึม (Assimilation) โดยเมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึม
ซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ ให้รวมเข้าอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา (Cognitive
Structure) โดยจะเป็นการตีความ หรือการรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม การปรับโครงสร้างทาง
ปัญญา (Accomodation) หมายถึง การเปลี่ยนแบบโครงสร้างของเชาว์ปัญญาที่มีอยู่แล้วให้
เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมให้
สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมใหม่ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญา
เพียเจต์ได้สรุปว่า “เด็กวัยนี้เป็นผู้ที่คิดเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎี
เกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่าง และมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่
เป็นนามธรรม”
3.2 ทฤษฎีพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการทางปัญญา บรูเนอร์(Jerome
Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่เน้นพัฒนาการเกี่ยวกับความสามารถในการรับรู้และความเข้าใจ
ของผู้เรียน ประกอบกับการจัดโครงสร้างของเนื้อหาที่จะเรียนรู้ให้สอดคล้องกัน และได้
เสนอทฤษฎีการสอน (Theory of Instruction) โดยน าหลักการพัฒนาทางสติปัญญาของเพีย
เจต์ (Piaget) มาเป็นพื้นฐานในการพัฒนา บรูเนอร์ได้เสนอว่า ในการจัดการศึกษาควร
ค านึงถึงการเชื่อมโยงทฤษฎีพัฒนาการกับทฤษฎีความรู้กับทฤษฎีการสอน เพราะการจัด
เนื้อหาและวิธีการสอนจะต้องค านึงถึงพัฒนาการ และปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับ
ความสามารถในการคิดหรือการรับรู้การใช้ภาษาที่เหมาะสม รวมถึงการเลือกใช้วิธีการที่
เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน บรูเนอร์เชื่อว่าครูสามารถช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมได้
โดยไม่ต้องรอเวลา ดังที่บรูเนอร์กล่าวไว้ว่า “วิชาใด ๆ ก็ตาม สามารถที่จะสอนให้เด็กในทุก
ช่วงพัฒนาการ ให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพได้ โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม” ซึ่ง
แนวคิดดังกล่าว บรูเนอร์ได้เสนอว่า การจัดการเรียนการสอนควรมีการจัดเนื้อหาวิชาที่มี