Page 36 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 36
26
ความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ มีความลึกซึ้งซับซ้อนและกว้างขวางออกไปตาม
ประสบการณ์ของผู้เรียนเรื่องเดียวกันอาจสามารถเรียนตั้งแต่ระดับประถมถึงมหาวิทยาลัย
เรียกว่า “Spiral Curriculum” ทฤษฎีพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการทางปัญญาของบรูเนอร์
มี 3 ขั้น
ขั้นที่ 1 Enactive representation (แรกเกิด - 2 ขวบ) เด็กจะแสดงการพัฒนา
ทางสมอง หรือทางปัญญาด้วยการกระท า และยังคงด าเนินต่อไปเรื่อย ๆ ตลอดชีวิต วิธีการ
เรียนรู้ในขั้นนี้จะเป็นการแสดงออกด้วยการกระท า เรียกว่า Enactive Mode จะเป็นวิธีการ
ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการสัมผัส จับต้องด้วยมือ ผลัก ดึง รวมถึงการใช้ปากกับ
วัตถุสิ่งของที่อยู่รอบ ๆ ตัว สิ่งที่ส าคัญเด็กจะต้องลงมือกระท าด้วยตนเอง เช่น การเลียนแบบ
หรือการลงมือกระท ากับวัตถุสิ่งของ ส่วนผู้ใหญ่จะใช้ทักษะทางการที่ซับซ้อน เช่น ทักษะ
การขี่จักรยานเล่นเทนนิส เป็นต้น
ขั้นที่ 2 Iconic Representation ในขั้นพัฒนาการทางความคิดจะเกิดจากการ
มองเห็น และการใช้ประสาทสัมผัสแล้ว เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น
ด้วยการมีภาพในใจแทน พัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจจะเพิ่มตามอายุ เด็กที่โตขึ้นก็จะ
สามารถสร้างภาพในใจได้มากขึ้น วิธีการเรียนรู้ในขั้นนี้ เรียกว่า Iconic Mode เมื่อเด็ก
สามารถที่จะสร้างจินตนาการ หรือมโนภาพ (Imagery) ในใจได้ เด็กจะสามารถเรียนรู้สิ่ง
ต่าง ๆ ในโลกได้ด้วยIconic Mode ดังนั้นในการเรียนการสอนเด็กสามารถที่จะเรียนรู้โดย
การใช้ภาพแทนของการสัมผัสจากของจริง เพื่อที่จะช่วยขยายการเรียนรู้ที่เพิ่มมากขึ้น
โดยเฉพาะความคิดรวบยอด กฎและหลักการ ซึ่งไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ บรูเนอร์ได้
เสนอแนะให้น าโสตทัศนวัสดุมาใช้ในการสอนได้แก่ ภาพนิ่งโทรทัศน์ หรืออื่น ๆ เพื่อที่จะ
ช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น
ขั้นที่ 3 Symbolic Representation ในขั้นพัฒนาการทางความคิดที่ผู้เรียน
สามารถถ่ายทอดประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยใช้สัญลักษณ์หรือภาษา บรูเนอร์ถือ
ว่าการพัฒนาในขั้นนี้เป็นขั้นสูงสุดของพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ เช่น การคิดเชิง
เหตุผล หรือการแก้ปัญหา และเชื่อว่าการพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจจะควบคู่ไปกับ