Page 34 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 34

24


                                     4. ทฤษฎีฝึกสมอง (Mental Discipline) ของ พลาโต การพัฒนาสมองโดยให้

                       นักเรียนเข้าใจและฝึกฝนมาก ๆ จะท าให้เกิดเป็นทักษะ และความคงทนในการเรียนรู้

                       ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงไปใช้โดยอัตโนมัติ

                              พินิจ ศรีจันทร์ดี (2530 : 13–34) ได้ระบุทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ที่ส าคัญ ๆไว้

                       ดังนี้

                                     1. ทฤษฎีการฝึกฝน (Drill Theory) ของกลุ่ม Associationists เป็ นกลุ่มที่

                       มองเห็นว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นเนื่องจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus – คือ สิ่งที่ท าให้

                       เกิดพฤติกรรม) และการตอบสนอง (Response – คือ ตัวพฤติกรรมนั่นเอง) เน้นพื้นฐานแห่ง

                       การฝึกฝนและท่องจ ากฎต่าง ๆ เช่น สูตรคูณ สูตรผลต่างก าลังสอง ให้ท าแบบฝึกหัดซ ้า ๆ

                       กันมาก ๆจนท่องจ าวิธีการแก้ปัญหาแบบนั้น ๆ ได้ ผู้เรียนจะไม่เข้าใจเหตุผลว่าท าไมจึงต้อง

                       ท าเช่นนั้นการอธิบายความหมายและการให้เหตุผลไม่ถือว่าเป็นสิ่งส าคัญ การสอน

                       คณิตศาสตร์ โดยอาศัยทฤษฎีนี้เป็นหลัก มักท าให้ผู้เรียนเกิดความท้อแท้ใจ เบื่อหน่าย เพราะ

                       จ าสูตรและกฎต่าง ๆที่ครูสอน ซึ่งมีจ านวนมากมายและซับซ้อนไม่ได้ เป็นเหตุให้ท า

                       แบบฝึกหัดตลอดจนข้อสอบที่มีแนวคิดแตกต่างไปจากตัวอย่างที่ครูเคยท าให้ดูไม่ได้ไปด้วย

                       ในที่สุดผู้เรียนจะเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อคณิตศาสตร์ เช่น คิดว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก ไม่

                       มีประโยชน์

                                     2. ทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรม (Activity Theory) ทฤษฎีนี้เน้นให้เด็ก


                       เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง พยายามให้ผู้เรียน เรียนคณิตศาสตร์ในบรรยากาศที่
                       อิสระไม่เคร่งเครียดมีกิจกรรมให้ท า และยึดหลักที่ว่า “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่


                       เท่ามือคล า”ซึ่งคงจะหมายความว่า การสอนโดยการอธิบายหรือเล่าให้ฟัง 10 ครั้ง จะไม่ดี

                       เท่ากับนักเรียนได้เห็นของจริงเพียงครั้งเดียว ตัวอย่างเช่น ครูอธิบายวิธีการแก้สมการก าลัง

                       สองให้นักเรียนดู นักเรียนอาจจะไม่เกิดความรู้อย่างแท้จริง จะท าได้ถ้าปัญหานั้นคล้าย ๆ กับ

                       ตัวอย่าง ถ้าปัญหานั้นแตกต่างจากตัวอย่างมาก ๆ นักเรียนอาจแก้ปัญหาด้วยความยากล าบาก

                       ไม่เหมือนกับการที่นักเรียนได้ลงมือท าจริง ๆ
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39