Page 38 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 38

28


                       1.4 หลักการสอนคณิตศาสตร์

                                  พิศมัย ศรีอ าไพ (2535 : 17-18) ได้เสนอหลัก 4 ประการในการสอนคณิตศาสตร์

                       ไว้ดังนี้

                                      1. เริ่มจากวัตถุสิ่งของที่จับต้องได้และประสบความจริง เช่น ถ้าสอน เรื่อง

                       การชั่ง ตวง วัด ต้องให้เด็กชั่ง ตวง วัด จริง

                                      2. ใช้วิธีการน าเข้าสู่เนื้อหาต่าง ๆ กันและมีบทประยุกต์ในสถานการณ์ที่ไม่

                       เหมือนกัน

                                      3. ใช้วิธีสอนแบบบันไดเวียน นั่นคือไม่สอนเนื้อหาใดแล้วทิ้งไปเลย แต่สอน

                       เนื้อหาเดียวกันในระดับต่างกัน เช่น สอนสถิติในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เมื่อถึงชั้น

                       มัธยมศึกษาตอนปลายก็สอนเนื้อหาเดียวกันนี้ให้กว้างและมีความหมายลึกซึ้งยิ่งขึ้น

                                      4. ใช้ค าถามกระตุ้นให้นักเรียนได้คิด และค้นพบหลักเกณฑ์ด้วยตนเอง

                                  ดวงเดือน อ่อนน่วม (2543 : 2-3) ได้เสนอหลักการสอนคณิตศาสตร์ที่จะช่วยให้

                       นักเรียนเกิดแนวคิดได้ดี  คือ การจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ 3 แบบ ดังนี้

                                      1. ประสบการณ์การเรียนที่เป็นรูปธรรม เป็นการจัดประสบการณ์ที่นักเรียนได้

                       กระท ากับวัตถุควบคู่ไปกับสัญลักษณ์ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเห็นว่าสัญลักษณ์นั้นมี


                       ความหมายตัวอย่าง เช่น ให้นักเรียนหยิบมะม่วงซึ่งมีอยู่ 10 ผล ออกทีละ 2 ผล ปรากฏว่า
                       หยิบ 5 ครั้ง มะม่วงก็หมดกอง สัญลักษณ์ที่ควบคู่ไปกับการกระท านี้คือ 10 ÷ 2 = 5


                                      2. ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นกึ่งรูปธรรม เป็นการจักประสบการณ์ให้

                       นักเรียนได้รับสิ่งเร้าทางสายตาควบคู่ไปกับสัญลักษณ์ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเห็นว่า

                       สัญลักษณ์นั้นมีความหมายนักเรียนไม่ต้องกระท ากับวัตถุ แต่สังเกตหรือดูภาพของวัตถุ

                       ตัวอย่าง เช่น วาดภาพแสดงการแบ่งมะม่วง 10 ผล ออกเป็นกองละ 2 ผล ปรากฏว่าได้ 5 กอง

                                      3. ประสบการณ์นามธรรม เป็นการจัดประสบการณ์ให้นักเรียนได้ใช้สัญลักษณ์

                       โดยไม่ต้องมีการกระท ากับวัตถุหรือภาพ เช่น เมื่อมีโจทย์ปัญหาว่า มีมะม่วงอยู่ 10 ผล แบ่ง

                       ออกเป็นกองละ 2 ผล จะแบ่งได้กี่กอง ไม่ต้องให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ในการแบ่ง

                       สิ่งของหรือดูภาพการแบ่งสิ่งของ แต่ให้นักเรียนใช้สัญลักษณ์ทันทีเพื่อหาค าตอบ คือ
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43