Page 40 - รวมเลมวจยในชนเรยน 2-2562_Neat
P. 40
30
13. ผู้สอนควรจะมีความกระตือรือร้น และตื่นตัวอยู่เสมอ
14. ผู้สอนควรหมั่นแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อน าสิ่งแปลกใหม่มา
ถ่ายทอดให้ผู้เรียน และผู้สอนควรจะเป็นผู้ที่มีความศรัทธาในอาชีพของตน จึงจะสอนได้ดี
อัมพร ม้าคะนอง (2546 : 8-10) ได้กล่าวถึงหลักการสอนคณิตศาสตร์ที่ส าคัญดังต่อไปนี้
1. สอนให้ผู้เรียนเกิดมโนทัศน์หรือได้ความรู้ทางคณิตศาสตร์จากการคิดและมีส่วน
ร่วมในการท ากิจกรรมกับผู้อื่น ใช้ความคิดและค าถามที่นักเรียนสงสัยเป็นประเด็นในการ
อภิปราย เพื่อให้ได้แนวคิดที่หลากหลาย และเพื่อน าไปสู่ข้อสรุป
2. สอนให้ผู้เรียนเห็นโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ ความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง
ของเนื้อหาคณิตศาสตร์ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคู่อันดับ ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
ความสัมพันธ์ระหว่างกราฟของความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน และลิมิตความสัมพันธ์ของรูป
สี่เหลี่ยมชนิดต่าง ๆ
3. สอนโดยค านึงว่าจะให้นักเรียนอะไร (What) และเรียนอย่างไร (How)นั่นคือต้อง
ค านึงถึงทั้งเนื้อหาวิชาและกระบวนการเรียน
4. สอนโดยการใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรมอธิบายนามธรรม หรือการท าให้สิ่งที่เป็น
นามธรรมมาก ๆ เป็นนามธรรมที่ง่ายขึ้นหรือพอที่จะจินตนาการได้มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจาก
มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์บางอย่างไม่สามารถสื่อมาอธิบายได้
5. จัดกิจกรรมการสอนโดยค านึงถึงประสบการณ์ และความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
6. สอนโดยการฝึกหัดให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ทั้งการฝึกรายบุคคล ฝึกเป็นรายกลุ่ม การฝึกทักษะย่อยทางคณิตศาสตร์ และการฝึกทักษะ
รวมเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น
7. สอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา สามารถใช้เหตุผล
เชื่อมโยง สื่อสาร และคิดอย่างสร้างสรรค์ ตลอดจนเกิดความอยากรู้อยากเห็นและน าไปคิด
ต่อ
8. สอนให้นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ระหว่างคณิตศาสตร์ในห้องเรียนกับ
คณิตศาสตร์ในชีวิตประจ าวัน