Page 36 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 36

27


                                การประเมินตามสภาพจริงจะให้ข้อมูลและข่าวสารที่เที่ยงตรงเกี่ยวกับผู้เรียนและ

               กระบวนการทางการศึกษา


               2.  ความหมายของการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)

                       การประเมินตามสภาพจริง เป็นกระบวนการของการสังเกตการณ์ บันทึก การจัดท าเอกสารที่
               เกี่ยวกับงานหรือภารกิจที่ผู้เรียนได้ท า รวมทั้งแสดงวิธีการว่าได้ท าอย่างไร เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ

               การตัดสินใจทางการศึกษาของผู้เรียนนั้น การประเมินตามสภาพจริงมีความแตกต่างจากการประเมิน

               โครงการตรงที่การประเมินแบบนี้ได้ให้ความส าคัญกับผู้เรียนมากกว่าการให้ความส าคัญกับผล อันที่จะ
               เกิดขึ้นจากการดูคะแนนของกลุ่มผู้เรียนและแตกต่างจากการทดสอบเนื่องจากเป็นการวัดผลการปฏิบัติจริง

               (Authentic Assessment) การประเมินตามสภาพจริงจะได้ข้อมูลสารสนเทศเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่องที่

               สามารถน ามาใช้ในการแนะแนวการเรียนส าหรับผู้เรียนแต่ละคนได้เป็นอย่างดี


               3.  ลักษณะที่ส าคัญของการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)

                                ให้ความส าคัญขอบการพัฒนาและการเรียนรู้

                                เน้นการค้นหาศักยภาพน าเอามาเปิดเผย
                                ให้ความส าคัญกับจุดเด่นของผู้เรียน

                                ยึดถือเหตุการณ์ในชีวิตจริง

                                เน้นการปฏิบัติจริง
                                จะต้องเชื่อมโยงกับการเรียนการสอน

                                มุ่งเน้นการเรียนรู้อย่างมีเป้ าหมาย

                                เป็นกระบวนการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกบริบท
                                ช่วยให้มีความเข้าใจในความสามารถของผู้เรียนและวิธีการเรียนรู้

                                ช่วยให้เกิดความร่วมมือทั้งผู้ปกครอง พ่อแม่ ครู ผู้เรียนและบุคคลอื่น ๆ


               4.  การประเมินผลการเรียนโดยใช้แฟ้ มสะสมงาน

                       แฟ้มสะสมงาน เป็นวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ซึ่งเป็นวิธีการที่ครูได้น าวิธีการ

               มาจากศิลปิน (artist) มาใช้ในทางการศึกษาเพื่อการประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดย
               แฟ้มสะสมงานมีประโยชน์ที่ส าคัญคือ

                                ผู้เรียนสามารถแสดงความสามารถในการท างานโดยที่การสอบท าไม่ได้

                                เป็นการวัดความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน
                                ช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสดงให้เห็นกระบวนการเรียนรู้ (Process) และผลงาน (Product)

                                ช่วยให้สามารถแสดงให้เห็นการเรียนรู้ที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม

                       แฟ้ มสะสมงานไม่ใช่แนวคิดใหม่ เป็นเรื่องที่มีมานานแล้ว ใช้โดยกลุ่มเขียนภาพ ศิลปิน สถาปนิก
               นักแสดง และนักออกแบบ โดยแฟ้ มสะสมงานได้ถูกน ามาใช้ในทางการศึกษาในการเรียนการสอนทาง
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41