Page 39 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 39
30
ขั้นที่ 4 การสะท้อนความคิดในผลงาน
ขั้นที่ 5 การประเมินผลงาน
ขั้นที่ 6 การแลกเปลี่ยนกับผู้เรียน
ส าหรับผู้ที่มีประสบการณ์พอสมควร ควรใช้ 10 ขั้นตอนดังที่กล่าวข้างต้น
9. การวางแผนท าแฟ้ มสะสมงาน
การวางแผนและการก าหนดจุดมุ่งหมาย ค าถามหลักที่จะต้องท าให้ชัดเจน
◊ ท าไมจะต้องให้ผู้เรียนรวบรวมผลงาน
◊ ท าแฟ้มสะสมงานเพื่ออะไร
◊ จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการท าแฟ้มสะสมงาน คืออะไร
◊ การใช้ แฟ้มสะสมงานในการประเมินมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร
แฟ้มสะสมงานไม่ใช่เป็นเพียงการเรียนการสอนหรือการประเมินผล แต่เป็นทั้งกระบวนการ
เรียนการสอนและการวัดผลประเมินผล
แฟ้มสะสมงาน เป็นกระบวนการที่ท าให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่ลงมือปฏิบัติเองและเรียนรู้ด้วยตนเอง
การใช้แฟ้มสะสมงานในการประเมินจะมีหลักส าคัญ 3 ประการ
1) เนื้อหา ต้องเกี่ยวกับเนื้อหาที่ส าคัญในหลักสูตร
2) การเรียนรู้ ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง โดยมีการบูรณาการที่จะต้องสะท้อน
กระบวนการเรียนรู้ทั้งหมด
3) การเขียน การแก้ปัญหา และการคิดระดับที่สูงกว่าปกติ
10. การเก็บรวบรวมชิ้นงานและการจัดแฟ้ มสะสมงาน
ความหมายของแฟ้มสะสมงานคือ การรวบรวมผลงานของผู้เรียนอย่างมีวัตถุประสงค์
เพื่อการแสดงให้เห็นความพยายาม ความก้าวหน้าและความส าเร็จของผู้เรียนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
วิธีการเก็บรวบรวม สามารถจัดให้อยู่ในรูปแบบของสิ่งต่อไปนี้
แฟ้มงาน สมุดบันทึก ตู้เก็บเอกสาร กล่อง อัลบั้ม แผ่นดิสก์
วิธีการด าเนินการเพื่อการรวบรวม จัดท าได้โดยวิธีการ ดังนี้
รวบรวมผลงานทุกชิ้นที่จัดท าเป็นแฟ้มสะสมงาน
คัดเรื่องผลงานเพื่อใช้ในแฟ้มสะสมงาน
สะท้อนความคิดในผลงานที่คัดเรื่องไว้
รูปแบบของแฟ้มสะสมงาน อาจมีองค์ประกอบดังนี้
สารบัญและแสดงประวัติผู้ท าแฟ้มสะสมงาน
ส่วนที่แสดงวัตถุประสงค์/จุดมุ่งหมาย
ส่วนที่แสดงชิ้นงานหรือผลงาน