Page 42 - ทักษะการเรียนรู้ ม.ปลาย
P. 42
33
5. การท าบันทึกการเรียน (Learning log) เพื่อบันทึกข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ความคาดหวัง
เรื่องราวต่างๆที่ได้เรียนรู้ ได้พัฒนา หรือเกิดขึ้นในสมองของผู้เรียน บันทึกนี้จะเป็นธนาคารความคิดที่ช่วย
เก็บสะสมเรื่องที่ได้อ่าน ปฏิบัติการได้ใช้ความคิดทีละน้อยในชีวิตประจ าวันเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะท าให้ทราบ
แนวทางและวิธีการเรียนเพิ่มเติมให้กว้างไกลออกไป บันทึกการเรียนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในการ
ประเมินการเรียนด้วยตนเอง ที่มีลักษณะเป็นแฟ้ มหรือสมุดบันทึกข้อมูลรายบุคคลเกี่ยวกับกิจกรรมที่ท า
ซึ่งจะเป็นข้อมูลบ่งชี้เกี่ยวกับความคาดหวังของผู้เรียนแต่ละบุคคล รวมทั้งความรับผิดชอบของผู้เรียนด้วย
ผู้สอนสามารถใช้บันทึกการเรียนเป็นแรงเสริมจากผู้สอนโดยการเขียนข้อความสั้น ๆ ง่าย ๆ เพื่อให้
ข้อคิดเห็นหรือค าแนะน าแก่ผู้เรียน
6. การจัดช่วงเวลาส าหรับสรุปสิ่งที่เรียนรู้ เนื่องจากในการเรียนด้วยตนเอง ผู้เรียนได้เรียนรู้และ
เผชิญกับปัญหาต่างๆด้วยตนเอง จึงต้องมีช่วงเวลาส าหรับสรุปสิ่งที่ได้เรียนโดยผู้สอนเป็นผู้น า
7. การสร้างห้องสมุดของตนเอง หมายถึง การรวบรวมรายชื่อ ข้อมูล แหล่งทรัพยากร การเรียน
ต่าง ๆ อาทิ รายชื่อบุคคล สถาบัน หนังสือ รายงานการประชุมฝึกอบรม สื่อการเรียนต่าง ๆ สถานที่ หรือ
ประวัติบุคคลที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ตรงกับความสนใจเพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าต่อไป
8. การหาแหล่งทรัพยากรการเรียนในชุมชน เช่น การสนทนากับผู้รู้ ผู้ช านาญในอาชีพต่างๆ หรือ
ป้ ายประกาศตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นต้น แหล่งทรัพยากรการเรียนเหล่านี้จะเป็นแหล่งส าคัญในการ ค้นคว้าซึ่ง
มีผลต่อการเรียนด้วยตนเองเป็นอย่างมาก
สรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีการเรียนด้วยตนเอง สามารถเลือกใช้รูปแบบในการเรียนได้
หลายอย่าง โดยเฉพาะการท าสัญญาการเรียนและการเขียนโครงการเรียน ทั้งนี้ครูควรแนะน าวิธีการและ
ขั้นตอนในการเรียนให้ผู้เรียนเข้าใจก่อนด าเนินการเรียนด้วยตนเอง สนับสนุนให้ผู้เรียนมีการเรียนแบบ
ร่วมมือ และควรจัดช่วงเวลาส าหรับพบผู้สอนเพื่อประเมินการเรียนเป็นระยะ ๆ ทั้งนี้ผู้เรียนอาจวางแผน การเรียน
ด้วยตนเองโดยการเรียนเป็นรายบุคคล เรียนกับคู่ที่มีความสามารถเท่ากัน เรียนเป็นกลุ่ม หรือเรียนกับผู้ที่มี
ความรู้และประสบการณ์ในเรื่องนั้นมากกว่าก็ได้
Knowles (1975) ได้เสนอให้ผู้เรียนพิจารณาสิ่งต่าง ๆประกอบในการวางแผนการเรียน ดังนี้
(1) การเรียนด้วยตนเองควรเริ่มจากการที่ผู้เรียนมีความต้องการที่จะเรียนในสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อการ
พัฒนาทักษะความรู้ ส าหรับการพัฒนาชีวิตและอาชีพของตนเอง
(2) การเตรียมตัวของผู้เรียนคือผู้เรียนจะต้องศึกษาหลักการ จุดมุ่งหมายและโครงสร้างของหลักสูตร
รายวิชาและจุดมุ่งหมายของรายวิชาก่อน
(3) ผู้เรียนควรเลือกและจัดเนื้อหาวิชาด้วยตนเอง ตามจ านวนคาบที่ก าหนดไว้ในโครงสร้างและ
ก าหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมลงไปให้ชัดเจนว่าจะให้บรรลุผลในด้านใด เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนได้
เกิดการเรียนในเรื่องนั้น ๆ แล้ว และมีความคิดเห็นหรือเจตคติในการน าไปใช้กับชีวิต สังคมและ
สิ่งแวดล้อมด้วย