Page 9 - หลักโภชนา
P. 9

๒




              ในการเสริมสรางอนามัยไดมากที่สุด นอกจากวิชาโภชนาการจะอาศัยหลักวิชาการอื่น ๆ ดังไดกลาว
              มาแลว วิชาโภชนาการปจจุบัน (Modern Nutrition) ยังอาศัยหลักพุทธศาสนาอีกดวย สารอาหาร

              บางอยางรับประทานนอยเกินไปทําใหเกิดโรคขาดอาหาร บางอยางรับประทานมากเกินไปทําให
              เกิดทุกข เกิดโทษหรือเกิดโรคอื่นๆ แกรางกายเชนเดียวกัน



              ความสัมพันธระหวางโภชนาการกับสุขภาพ

                       “อาหารคือตัวเรา” (You are what you eat) คํากลาวนี้เปนจริงเสมอมา เพราะสิ่งตางๆ
              ที่ประกอบขึ้นเปนตัวเรานั้น ลวนมาจากอาหารที่เราทานเขาไป เริ่มตั้งแตอยูในทองแม จนกระทั่ง

              คลอดออกเปนทารก เด็ก เติบโตเปนผูใหญ จนถึงวัยผูสูงอายุ เราตองทานอาหารทุกวัน เพราะอาหาร
              ไมเพียงแตจะนําไปประกอบเปนสวนตางๆ ของรางกายเทานั้น แตยังทําใหชีวิตดํารงอยูได

              อยางปกติสุข หรือมีภาวะโภชนาการที่ดี แตถาหากกินอาหารไมถูกตอง เพียงพอ ก็จะทําใหเกิดปญหา
              โภชนาการได
                       โภชนาการเปนรากฐานของสุขภาพ โภชนาการที่ดีมีผลตอสุขภาพดังนี้

                       ๑.  ผลทางรางกาย ไดแก ขนาดของรางกาย การมีครรภและสุขภาพของทารก ความสามารถ
              ในการตานทานโรค ความมีอายุยืน สรุปไดวา โภชนาการที่ดีมีผลตอสุขภาพกาย คือ

                          • รางกายเจริญเติบโตเต็มที่
                          • มีกําลังแรงงานมากกวาผูที่กินอยูไมถูกตอง

                          • รางกายแข็งแรง มีความตานทานโรคสูง
                          • ไมแกกอนวัยและอายุยืน

                          • มารดาและทารกในครรภแข็งแรง
                       ๒. ผลทางอารมณและสติปญญา ผลงานทางวิทยาศาสตรหลายแหงแสดงใหเห็นวา พัฒนาการ

              ทางสมองของมนุษยนั้นจะเกิดขึ้นเต็มที่ตองอาศัยภาวะโภชนาการหรืออาหารที่กินดวย มีผูรายงาน
              สอดคลองกันวาเด็กที่เปนโรคขาดโปรตีนนั้น เมื่อรักษาดวยการใหอาหารโปรตีนคุณภาพดีในปริมาณสูง

              อาการเจ็บปวยทางกายจะหายไปและกลับสูสภาพปกติ แตพัฒนาการทางสมองของเด็กเหลานั้นไม
              อาจแกไขใหกลับสูสภาพเดิมเหมือนเด็กปกติได โดยเฉพาะขณะที่สมองกําลังเติบโตรวดเร็วกวา

              วัยอื่น นอกจากนี้ยังมีผูรายงานวา การขาดกรดไขมันที่จําเปนตอรางกายจะทําใหพัฒนาการทางสมอง
              ของทารกและเด็กหยุดชะงัก แตผลที่เกิดขึ้นนั้นรุนแรงนอยกวาการขาดกรดอะมิโนที่จําเปนแกรางกาย

              หรือโปรตีนคุณภาพสมบูรณ
                       ๓. ประสิทธิภาพในการทํางาน โภชนาการที่ดีมีสวนใหจิตใจแข็งแรง มีความมั่นคงในอารมณ

              ไมเหนื่อยหรือทอแทงาย มีความแจมใสและกระตือรือรนในชีวิต ปรับตนเขากับสังคมหรือสิ่งแวดลอม
              ไดงายและมีวุฒิภาวะทางอารมณ (Maturity) เจริญเร็วกวาผูที่มีภาวะทางโภชนาการไมดี และมีผลตอ

              การทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14