Page 103 - หนังสือเรียนภาษาไทย ม.ปลาย พท.31001
P. 103

94


               เรื่องที่ 1 ธรรมชาติของภาษา


               ความหมายของภาษา

                       ภาษา เปนคําที่เรายืมมาจากภาษา สันสกฤต ถาแปลตามความหมายของคําศัพทภาษา แปลวา

               ถอยคําหรือคําพูดที่ใชพูดจากัน คําวา ภาษา ตามรากศัพทเดิมจึงมีความหมายแคบคือ หมายถึง คําพูด

               แตเพียงอยางเดียว
                       ความหมายของภาษาตามความเขาใจของคนทั่วไป เปนความหมายที่กวาง คือภาษา หมายถึง

               สื่อทุกชนิดที่สามารถทําความเขาใจกันได เชน ภาษาพูดใชเสียงเปนสื่อ ภาษาเขียนใชตัวอักษรเปนสื่อ

               ภาษาใบใชกริยาทาทางเปนสื่อ ภาษาคนตาบอดใชอักษรที่เปนจุดนูนเปนสื่อ ตลอดทั้ง แสง สี และอาณัติ
               สัญญาณตาง ๆ ลวนเปนภาษาตามความหมายนี้ทั้งสิ้น

                       ความหมายของภาษาตามหลักวิชา ภาษา หมายถึง สัญลักษณที่มีระบบระเบียบและมีแบบแผน

               ทําใหคนเราสื่อความหมายกันได ภาษา ตามความหมายนี้จะตองมีสวนประกอบสําคัญคือ จะตองมี ระบบ
               สัญลักษณ + ความหมาย + ระบบการสรางคํา + ระบบไวยากรณ ในภาษาไทยเรามีระบบสัญลักษณ

               ก็คือ สระ พยัญชนะและวรรณยุกต ระบบการสรางคํา ก็คือ การนําเอาพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต
               มาประกอบกันเปนคํา เชน พี่ นอง พอ แม ฯลฯ ระบบไวยากรณ หรือเราเรียกวา การสรางประโยค คือ

               การนําคําตาง ๆ  มาเรียงกันใหสัมพันธกันใหเกิดความหมายตาง ๆ  ซึ่งเปนหนวยใหญขึ้น  เมื่อนําสวน

               ประกอบตาง ๆ สัมพันธกันแลวจะทําใหเกิดความหมาย ภาษาตองมีความหมาย ถาหากไมมีความหมายก็ไม
               เรียกวา เปนภาษา


               ความสําคัญของภาษา

                       1.  ภาษาเปนเครื่องมือในการติดตอสื่อสาร  ที่มนุษยใชสื่อความเขาใจกัน  ถายทอดความรู

               ความคิด อารมณ ความรูสึก ซึ่งกันและกัน

                       2.  ภาษาเปนเครื่องมือในการแสวงหาความรู ความคิดและความเพลิดเพลิน
                       3.  ภาษาเปนเครื่องมือในการประกอบอาชีพและการปกครอง  โดยมีภาษากลางหรือภาษา

               ราชการใชในการสื่อสารทําความเขาใจกันไดทั้งประเทศ ทั่วทุกภาค

                       4.  ภาษาชวยบันทึกถายทอดและจรรโลงวัฒนธรรมใหดํารงอยู  เราใชภาษาบันทึกเรื่องราวและ
               เหตุการณตาง ๆ ในสังคม ตลอดทั้งความคิด ความเชื่อไวใหคนรุนหลังไดทราบและสืบตออยางไมขาดสาย

                       เมื่อทราบวาภาษามีความสําคัญอยางยิ่งสําหรับมนุษยและมนุษยก็ใชภาษาเพื่อการดําเนินชีวิต
               ประจําแตเราก็มีความรูเกี่ยวกับภาษากันไมมากนัก จึงขอกลาวถึงความรูเกี่ยวกับภาษาใหศึกษากันดังนี้

                       1.  ภาษาใชเสียงสื่อความหมาย ในการใชเสียงเพื่อสื่อความหมายจะมี 2 ลักษณะ คือ

                         1.1  เสียงที่สัมพันธกับความหมาย หมายความวาฟงเสียงแลวเดาความหมายไดเสียงเหลานี้
               มักจะเปนเสียงที่เลียนเสียงธรรมชาติ เชน ครืน เปรี้ยง โครม จัก ๆ หรือเลียน เสียงสัตวรอง เชน กา อึ่งอาง

               แพะ ตุกแก
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108