Page 107 - หนังสือเรียนภาษาไทย ม.ปลาย พท.31001
P. 107
98
7.2 มีความไพเราะ จะสังเกตไดวาคนไทยเปนคนเจาบทเจากลอนมาแตโบราณแลวก็เพราะ
ภาษาไทยมีวรรณยุกตสูงต่ําเหมือนเสียงดนตรี ที่เอื้อในการแตงคําประพันธ เปนอยางดี เชน
“ชะโดดุกระดี่โดด สลาดโลดยะหยอยหยอย
กระเพื่อมน้ํากระพร่ําพรอย กระฉอกฉานกระฉอนชล”
จะเห็นวาเสียงของคําในบทประพันธนี้ทําใหเกิดจินตนาการหรือภาพพจนดังเหมือนกับเห็นปลาตาง ๆ
กระโดดขึ้นลงในน้ําที่เปนละลอก
7.3 ภาษาไทยนิยมความคลองจอง ไมวาจะเปนสํานวนหรือคําพังเพยในภาษาไทยจะมี
คําคลองจอง เปนทํานองสั่งสอนหรือเปรียบเทียบอยูเสมอ เชน
รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา
น้ํามาปลากินมด น้ําลดมดกินปลา
ขาวยาก หมากแพง
7.4 คําในภาษาไทยเลียนแบบเสียงธรรมชาติได เพราะเรามีเสียงวรรณยุกตใหใชถึง 5 เสียง เชน
เลียนเสียงภาษาตางประเทศ เชน ฟุตบอล วอลเลยบอล เปาฮื้อ เตาเจี้ยว ฯลฯ
เลียนเสียงธรรมขาติ เชน ฟารองครืน ๆ ฝนตกจั้ก ๆ ขาวเดือดคั่ก ๆ ระฆังดังหงางหงาง ฯลฯ
8. ภาษาไทยมีคําพองเสียง พองรูป
คําพองเสียง หมายถึง คําที่มีเสียงเหมือนแตความหมายและการเขียนตางกัน เชน
การ หมายถึง กิจ งาน ธุระ
กาน หมายถึง ตัดใหเตียน
กาฬ หมายถึง ดํา
กาล หมายถึง เวลา
การณ หมายถึง เหตุ
กานต หมายถึง เปนที่รัก
กานท หมายถึง บทกลอน
กาญจน หมายถึง ทอง
คําพองรูป หมายถึง คําที่รูปเหมือนกันแตออกเสียงและมีความหมายตางกัน เชน
- เพลา อาน เพ-ลา แปลวา เวลา
- เพลา อาน เพลา แปลวา เบา ๆ หรือตัก
- เรือโคลงเพราะโคลง อาน เรือโคลงเพราะโค-ลง
9. ภาษาไทยมีการสรางคํา
เปนธรรมชาติของภาษาทุกภาษาที่จะมีการสรางคําใหมอยูเสมอ แตภาษาไทยมีการสราง
คํามากมายซึ่งตางกับภาษาอื่น จึงทําใหมีคําใชในภาษาไทยเปนจํานวนมาก คือ
9.1 สรางคําจากการแปรเสียง เชน ชุม - ชอุม
9.2 สรางคําจากการเปลี่ยนแปลงเสียง เชน วิธี - พิธี วิหาร - พิหาร