Page 112 - หนังสือเรียนภาษาไทย ม.ปลาย พท.31001
P. 112
103
นอกจากนี้ การลงอุปสรรคของภาษาบาลี ถูกนํามาใชในภาษาไทยแลว ไทยเรายังนําวิธีการ
ลงอุปสรรคมาใชกับคําไทยและคําอื่น ๆ ในภาษาไทยอีกดวย เชน
สมรู หมายความวา รวมคิดกัน
สมทบ หมายความวา รวมเขาดวยกัน
ค. การสนธ ิ การสรางคําในภาษาบาลี สันสกฤต ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรูปคํา อันเนื่องมา
จากการเปลี่ยนแปลงทางเสียง ซึ่งเราเรียกวา “สนธิ”
สนธิ เปนการเปลี่ยนแปลงเสียง การสนธิเปนวิธีการสมาส โดยการเชื่อมคําใหกลมกลืนกัน คือ
ทายเสียงคําตนกับเสียงของคําที่นํามาตอ จะกลมกลืนกัน เปนวิธีสรางคําใหมในภาษาวิธีหนึ่ง วิธีสนธิมี 3 วิธีคือ
1. สระสนธ ิ คือ การรวมเสียงสระตัวทายของคํานําหนากับสระตัวหนาของคําหลังใหกลมกลืน
สนิทกันตามธรรมชาติการออกเสียง
อะ + อ เปน อา เชน สุข + อภิบาล = สุขาภิบาล
อะ + อุ หรือ อู เปน อุ อู หรือ โอ เชน
อรุณ + อุทัย = อรุโณทัย
ราช + อุปโภค = ราชูปโภค
ฯลฯ
2. พยัญชนะสนธิ เปนลักษณะการเชื่อมและกลมกลืนเสียงระหวางคําที่สุดศัพทดวยพยัญชนะกับ
คําที่ขึ้นตนดวยพยัญชนะหรือสระ เมื่อเสียงอยูใกลกัน เสียงหนึ่งจะมีอิทธิพลดึงเสียงพยัญชนะอีกเสียงหนึ่ง
ใหมีลักษณะเหมือนหรือใกลเคียงกัน พยัญชนะสนธินี้จะมีเฉพาะในภาษาสันสกฤตเทานั้น ในภาษาบาลีไมมี
เพราะศัพทในภาษาบาลีทุกคําตองสุดศัพทดวยสระ ตัวอยาง เชน
ธต เปลี่ยน เปน ทธ เชน พุธ + ต = พุทธ
ราชน + บุตร = ราชบุตร ไทยใช ราชบุตร
กามน - เทว = กามเทว ไทยใช กามเทพ
3. นฤคหิตสนธิ สนธินิคหิตจะมีลักษณะการตอเชื่อมและกลมกลืนเสียงระหวางคําตนที่ลงทายดวย
นิคหิต กับคําที่ขึ้นตนดวยสระหรือพยัญชนะนิคหิตเทียบไดกับเสียงนาสิก ดังนั้น นิคหิตจะกลายเปนนาสิก
ของพยัญชนะตัวที่ตามมา คือ ง ญ น ณ ม ถาตัวตามนิคหิตอยูวรรคเดียวกับ ง ก็จะเปลี่ยนเปน ง ถาอยู
วรรคเดียวกับ ญ หรือ น หรือ ณ หรือ ม ก็จะเปลี่ยนเปน ญ น ณ ม ตามวรรค เชน
สํ + เกต = สังเกต (เครื่องหมายรู)
สํ + ถาร = สันถาร (การปูลาด)
สํ + พนธ = สัมพันธ
การนําวิธีการสรางคําแบบคําสมาส คําลงอุปสรรคและวิธีสนธิในภาษาบาลีสันสกฤตมาใชใน
ภาษาไทย ถือวาเปนการสรางคําหรือเพิ่มคําในภาษาไทยมีมาก