Page 138 - หนังสือเรียนภาษาไทย ม.ปลาย พท.31001
P. 138

129


                       รูปแบบและประเภทของบทวิทยุโทรทัศน
                        บทวิทยุโทรทัศนประกอบดวยองคประกอบที่จําเปน 2 สวน คือ สวนของภาพและสวนของเสียง

               การใหขอมูลที่สมบูรณทั้งดานภาพและเสียงจะทําใหรายการสําเร็จลุลวงไปไดดวยดี ดังนั้น นักเขียนบท
               วิทยุโทรทัศนควรทราบขอกําหนดในการวางรูปแบบโทรทัศน และประเภทของบทวิทยุโทรทัศน เพื่อจะทํา

               ใหงายและสะดวกตอการทํางานของฝายผลิตรายการ

                        1.  การวางรูปแบบบทวิทยุโทรทัศน
                        สวนภาพ การวางรูปแบบบทวิทยุโทรทัศนโดยทั่วไปนั้น นิยมเขียนโดยสวนของภาพจะอยู

               ครึ่งหนากระดาษทางซาย และสวนของเสียงจะอยูทางขวาของคอลัมนภาพ เพื่อผูเขียนตองการเขียน

               ขอแนะนําเครื่องหมายของช็อต (shot)  ที่สําคัญคือ ตัวหนังสือ ภาพและสิ่งที่จําเปนที่สําคัญที่เกี่ยวกับ
               ภาพโทรทัศนใหเขียนสิ่งเหลานี้ไวใน “สวนภาพ” ทั้งนี้ ผูเขียนตองเขาใจศัพททางดานโทรทัศนพอสมควร

               และพยายามใชคําศัพทดานภาพและดานเทคนิคที่ตนเขาใจเปนอยางดี หลีกเลี่ยงการใชศัพทเทคนิคที่

               ผูเขียนเองยังไมเขาใจความหมายที่แทจริงของคํานั้น ๆ
                        สวนเสียง ผูเขียนจะใสคําบรรยาย เพลง เสียงประกอบใน “สวนเสียง” เชนเดียวกับการอธิบาย

               สิ่งตาง ๆ ใหกับตัวแสดง ผูแสดงแบบ ผูบรรยาย เชน อธิบายการเคลื่อนไหว หรืออารมณ เปนตน จะไมใช
               สวนภาพสําหรับอธิบายสิ่งตาง ๆ ใหกับตัวแสดงไมวาจะอยูหลังกลองหรือหนากลอง

                        คําอธิบายและรายการซึ่งควรเขียนไวกอนบท ไดแก คําอธิบายเกี่ยวกับลักษณะผูแสดง

               (character) ฉาก (setting) และอุปกรณที่ใชประกอบฉาก ตลอดจนงานดานกราฟฟกภาพที่ใชประกอบ
               เอาไวหนาเดียวหรือหลายหนาก็ได จะไมมีการเขียนสิ่งเหลานี้ไวในบท เพราะอาจทําใหเกิดการสับสนและ

               เปนสาเหตุของความผิดพลาด ขณะที่อานบทอยางรวดเร็วระหวางการผลิต
                        2.  ประเภทของบทวิทยุโทรทัศน

                           2.1    บทวิทยุโทรทัศนแบบสมบูรณ บทประเภทนี้จะบอกคําพูดทุกคําพูดที่ผูพูดจะพูดใน

               รายการตั้งแตตนจนจบ พรอมกันนั้นก็จะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับคําสั่งทางดานภาพและเสียงไว
               โดยสมบูรณ รายการที่ใชบทประเภทนี้ไดแก รายการละคร รายการตลก รายการขาว และรายการโฆษณา

               สินคาสําคัญ ๆ

                        ประโยชนของการเขียนบทวิทยุโทรทัศนแบบสมบูรณ คือ เราสามารถมองภาพของรายการได
               ตั้งแตตนจนจบกอนที่จะมีการซอม ทําใหเราสามารถกําหนดมุมกลอง ขนาดภาพและขนาดของเลนสที่ใช

               ตลอดจนกําหนดเวลาการเคลื่อนไหวของกลองไดอยางถูกตองแนนอน
                        ขอเสียเปรียบของบทวิทยุโทรทัศนแบบนี้ คือ เราจะปฏิบัติตามบทอยางเครงครัด ถาทุกสิ่ง

               ทุกอยางเปนไปตามบท รายการก็จะดําเนินไปดวยดีและสมบูรณ แตหากมีอะไรไมเปนไปตามบท ผูกํากับ

               รายการและผูรวมทีมงานก็จะเกิดความสับสนและตองพยายามแกไขปญหาเฉพาะหนาที่เกิดขึ้นใหได
                        2.2    บทวิทยุโทรทัศนกึ่งสมบูรณ มีขอแตกตางกับบทโทรทัศนแบบสมบูรณ ตรงที่คําพูด

               คําบรรยายหรือบทสนทนาไมไดระบุหมดทุกตัวอักษร บอกไวเพียงแตหัวขอเรื่อง หรือเสียงที่จะพูดโดยทั่วไป
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143