Page 14 - หนังสือเรียนภาษาไทย ม.ปลาย พท.31001
P. 14

5


               ที่ใหประโยชน ก็คือ  โนมนาวใจใหรักชาติบานเมือง ใหใชจายอยางประหยัด ใหรักษาสิ่งแวดลอม ใหรักษา
               สาธารณสมบัติและประพฤติแตสิ่งที่ดีงาม ในทางตรงขามผูสงสารอาจจะมีจุดมุงหมายใหเกิดความเสียหาย

               มุงหมายที่จะโฆษณาชวนเชื่อหรือปลุกปน ยุยงใหเกิดการแตกแยก ดังนั้น จึงตองมีวิจารณญาณ คิดพิจารณา
               ใหดีวาสารนั้นเปนไปในทางใด

                       การใชวิจารณญาณสารโนมนาวใจ ควรปฏิบัติ ดังนี้

                       1.  สารนั้นเรียกรองความสนใจมากนอยเพียงใด หรือสรางความเชื่อถือของผูพูดมากนอยเพียงใด
                       2.  สารที่นํามาเสนอนั้น สนองความตองการพื้นฐานของผูฟงและดูอยางไรทําใหเกิด

               ความปรารถนาหรือความวาวุนขึ้นในใจมากนอยเพียงใด

                       3.  สารไดเสนอแนวทางที่สนองความตองการของผูฟงและดูหรือมีสิ่งใดแสดงความเห็นวา
               หากผูฟงและดูยอมรับขอเสนอนั้นแลวจะไดรับประโยชนอะไร

                       4.  สารที่นํามาเสนอนั้นเราใจใหเชื่อถือเกี่ยวกับสิ่งใด และตองการใหคิดหรือปฏิบัติอยางไรตอไป

                       5.  ภาษาที่ใชในการโนมนาวใจนั้นมีลักษณะทําใหผูฟงเกิดอารมณอยางไรบาง
                       สารที่จรรโลงใจ

                       ความจรรโลงใจ  อาจไดจากเพลง ละคร ภาพยนตร คําประพันธ สุนทรพจน บทความบางชนิด

               คําปราศรัย พระธรรมเทศนา โอวาท ฯลฯ เมื่อไดรับสารดังกลาวแลวจะเกิดความรูสึกสบายใจ สุขใจ
               คลายเครียด เกิดจินตนาการ มองเห็นภาพและเกิดความซาบซึ้ง สารจรรโลงใจจะชวยยกระดับจิตใจมนุษย

               ใหสูงขึ้นประณีตขึ้น  ในการฝกใหมีวิจารณญาณในสารประเภทนี้ ควรปฏิบัติ ดังนี้

                       1.  ฟงและดูดวยความตั้งใจ แตไมเครงเครียด ทําใจใหสบาย
                       2.  ทําความเขาใจในเนื้อหาที่สําคัญ ใชจินตนาการไปตามจุดประสงคของสารนั้น

                       3.  ตองพิจารณาวาสิ่งที่ฟงและดูใหความจรรโลงในดานใด อยางไรและมากนอยเพียงใด หากเรื่อง
               นั้นตองอาศัยเหตุผล ตองพิจารณาวาสมเหตุสมผลหรือไม

                       4.  พิจารณาภาษาและการแสดง เหมาะสมกับรูปแบบเนื้อหาและผูรับสารหรือไมเพียงใด


               เรื่องที่  2  การวิเคราะห วิจารณเรื่องที่ฟง และดู


                       ความหมายของการวิเคราะห การวินิจและการวิจารณ


                       การวิเคราะห    หมายถึง  การที่ผูฟงและผูดูรับสารแลวพิจารณาองคประกอบออกเปนสวน ๆ
               นํามาแยกประเภท ลักษณะ สาระสําคัญของสาร กลวิธีการเสนอและเจตนาของผูสงสาร

                       การวินิจ    หมายถึง  การพิจารณาสารดวยความเอาใจใส  ฟงและดูอยางไตรตรองพิจารณา

               หาเหตุผลแยกแยะขอดีขอเสีย คุณคาของสาร ตีความหมายและพิจารณาสํานวน ภาษา ตลอดจนน้ําเสียง
               และการแสดงของผูสงสาร พยายามทําความเขาใจความหมายที่แทจริง เพื่อใหไดประโยชนตามวัตถุประสงค

               ของผูวินิจ
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19