Page 27 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 27
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด (Reflective Theory)
จากการศึกษาทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดที่สามารถน ามาใช้เป็นแนวทางใน
จัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาการสะท้อนคิด ในที่นี้จัดแบ่งเป็น 3 กลุ่มทฤษฏี ได้แก่
1) ทฤษฏีการสะท้อนคิด (Reflective theory) หรือทฤษฎีการปฏิบัติ (theory of action)
2) ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential learning theory) และ
3) ทฤษฎีสรรคนิยม (Constructivist theory)
ซึ่งแสดงรายละเอียดของแต่ละทฤษฎีได้ ดังต่อไปนี้
1. ทฤษฎีการสะท้อนคิด (Reflective Theory) หรือทฤษฎีการปฏิบัติ (Theory of action)
จากการศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฏีการสะท้อนคิดนั้น พบว่า ไม่มีการก าหนดหลักการหรือทฤษฎีในการ
สะท้อนคิดไว้อย่างชัดเจน มีเพียงการน าเสนอในลักษณะของทฤษฎีการปฏิบัติจากกลุ่มของนักการศึกษาที่
สนใจเกี่ยวกับการพัฒนาการสะท้อนคิด มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การสะท้อนคิด เป็นกระบวนการที่บุคคลได้น ามาใช้เพื่อน าไปสู่การเปลี่ยนแปลงและช่วยในการ
ตัดสินใจ บุคคลสะท้อนคิดเพื่อเปลี่ยนแปลงสมมติฐาน และเพื่อการประยุกต์ความรู้ให้เหมาะสมกับกระบวน
ทัศน์ใหม่ หรือเพื่อสร้างความรู้ใหม่ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยแนวคิดของการสะท้อนคิดได้ถูกน ามา
พิจารณาใช้เป็น ส่วนที่สัมพันธ์กันคือ การสะท้อนคิดขณะปฏิบัติงาน (Reflection-in-action) และการ
สะท้อนคิดต่อการปฏิบัติงานที่ผ่านไปแล้ว (Reflection-on-action) (Mezirow, 1994, Copeland, et al.,
1993, Schon, 1983 cited in Robinson, 1997; Sheerwood & Deutsch, 2017)
กำรสะท้อนคิดขณะปฏิบัติงำน (reflection-in-action) เกิดขึ้นเมื่อมีการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของ
บุคคล ๆ นั้น และคิดพิจารณาเกี่ยวกับกิจกรรมที่ก าลังปฏิบัติอยู่ในขณะนั้น เช่น ขณะที่ผู้สอนได้สังเกต และจด
บันทึกในระหว่างรับฟังการน าเสนอผลงานของผู้เรียน ผู้สอนรู้สึกสับสนในเนื้อหา และในขณะเดียวกันก็ได้
พิจารณาถึงวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อแก้ปัญหาได้ถูกต้องในช่วงเวลานั้น ส่วนการสะท้อนคิดต่อการปฏิบัติงานที่ผ่าน
ไปแล้ว (reflection-on-action) จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้มีการทบทวนประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมเพื่อตัดสิน
เกี่ยวกับสิ่งที่ได้ท าไปแล้ว เช่น ภายหลังการสอน ผู้สอนได้ทบทวนและพิจารณาวิธีการที่จะลดความสับสนจาก
การสังเกตและจดบันทึก เพื่อใช้ในสถานการณ์สอนครั้งต่อไป (Schon, 1990; Schon, 1983 cited in
Robinson, 1997) ในการน าแนวทางการสะท้อนคิดส่วนนี้ไปใช้ในการปฏิบัติย่อมจะท าให้ผู้ฝึกปฏิบัติรู้จักการ
ประเมินตนเองเชิงวิพากษ์ และน าไปสู่ความเจริญงอกงามทางวิชาชีพ
การใช้กระบวนการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาบุคคลไปสู่การเปลี่ยนแปลง สามารถน าเสนอเป็นแผนภาพ
ของกระบวนการฝึกปฏิบัติที่เน้นการสะท้อนคิดของ Schon แสดงได้ดังภาพที่ 3