Page 32 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 32
ภาพที่ 6 รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของ Kolb (1984)
โดยสรุป การสะท้อนคิดตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ของ Kolb เน้น การเรียนรู้เพื่อให้
เกิดการเปลี่ยนแปลง ผ่านประสบการณ์ของผู้เรียน โดยมีลักษณะเป็นวงจรการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย การสร้าง
ประสบการณ์เชิงรูปธรรม (Concrete experience) การสังเกตเชิงสะท้อนคิด (Reflective observation)
การสร้างแนวคิดเชิงนามธรรม (Abstract conceptualization) และการทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง (Active
experimentation) และมีการเชื่อมโยงกับกรอบความรู้ 4 รูปแบบ คือ ความรู้ที่เบนเข้าหากัน (Convergent
knowledge) ความรู้ที่แยกจากกัน (divergent knowledge) ความรู้ที่ซึมซับ (Assimilative knowledge)
และความรู้ที่ปรับเปลี่ยน (Accommodative knowledge)
3. ทฤษฎีสรรคนิยม (Constructivist theory)
การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสรรคนิยมจากแนวคิดของนักการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้ (Osborne
and Wittrock, 1983: 489 - 508; Wilson & Cole 1991:59 - 61; Curry 2540; Suvery & Duffy; 1955: 1
- 38: อ้างถึงใน ภิญญาพัชญ์ ปลากัดทอง 2551: 82)
3.1 การเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความหมายและตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน
โดยทั่วไปผู้เรียนจะสร้างความหมายจากสิ่งที่ตัวเองรับรู้ตามประสบการณ์เดิมของตน ความหมายที่ผู้เรียน
สร้างขึ้นอาจสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับความหมายที่ผู้เชี่ยวชาญสาขานั้นยอมรับก็ได้ ตามแนวคิดสรรค
นิยมถือว่าความหมายที่ผู้เรียนสร้างขึ้น ไม่มีค าตอบที่ถูกหรือผิด แต่เรียกว่าไม่สอดคล้องกับความหมายที่