Page 34 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 34
การพัฒนาการสะท้อนคิด
ทักษะการสะท้อนคิดเป็นทักษะทางปัญญาที่อาศัยกระบวนการคิดขั้นสูงที่สามารถพัฒนาได้ ดังนั้น
การพัฒนาทักษะดังกล่าวสามารถท าได้โดยการกระตุ้นผู้เรียนในการน าประสบการณ์มาคิดวิเคราะห์ในประเด็น
ต่างๆ ตามล าดับตามขั้นตอนของการสะท้อนคิด และตามวัตถุประสงค์ของการสะท้อนคิด ดังนั้นการก าหนด
ประเด็นหรือการตั้งค าถามที่ช่วยกระตุ้นการคิด ถือเป็นหัวใจส าคัญของการพัฒนาทักษะการสะท้อนคิด เพราะ
การก าหนดประเด็นค าถามที่ชัดเจนและเรียงล าดับไปตามขั้นตอนของการสะท้อนคิดจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถ
คิดวิเคราะห์ได้อย่างชัดเจนและส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
การพัฒนาการสะท้อนคิดนั้นได้มีการศึกษาหลากหลายรูปแบบ ตามแนวคิดทฤษฎี และบริบทที่
แตกต่างกัน ในที่นี้จะกล่าวถึง 4 รูปแบบดังต่อไปนี้
1. รูปแบบการสะท้อนคิดของ Bound (1986 : 21 ; อ้างถึงใน Savin-Baden and
Major, 2004 : 6) เสนอว่าโอกาสในการเกิดการสะท้อนคิดนั้น พบว่ามีอยู่ 3 โอกาส ได้แก่ การสะท้อนคิด
ล่วงหน้า ก่อนที่เหตุการณ์นั้นยังไม่เกิด (Reflection in Anticipation of Events) การสะท้อนคิดต่อเหตุการณ์
ที่ก าลังเกิดขึ้น (Reflection in the Midst of Action) และการสะท้อนคิดหลังเหตุการณ์นั้นได้สิ้นสุดลงไปแล้ว
(Reflection After Events) โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) การสะท้อนคิดล่วงหน้าก่อนที่เหตุการณ์นั้นยังไม่เกิด เป็นขั้นตอนการ
เตรียมการกับเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิด การก าหนดเป้าหมาย สิ่งที่คาดหวัง และผลลัพธ์ที่จะได้ จากเหตุการณ์นั้น
การตระหนัก และความพร้อมต่อเหตุการณ์นั้น อาจใช้วิธีการเขียนจดบันทึกเพื่อส ารวจสิ่งที่ผู้เรียนต้องการ
หรือมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการสะท้อนคิดนี้ รายละเอียดอาจเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้เรียนจะน ามาใช้ในการสะท้อนคิดนี้
ผู้เรียนต้องการหรือคาดหวังอะไร และผู้เรียนต้องใส่ใจอย่างไร เมื่อผลที่ได้รับไม่ตรง หรือคลาดเคลื่อนจากสิ่งที่
ได้คาดการณ์เอาไว้ ขั้นตอนต่อไป เป็นเรื่องของบริบท (context) ที่จะใช้ในการสะท้อนคิด ซึ่งบางครั้งผู้เรียน
อาจได้รับการให้ข้อมูลเบื้องต้นจากผู้สอนมาบ้างแล้ว แต่อย่างไรก็ตามผู้เรียนก็ยังคงต้องค้นหา (Discover) สิ่ง
ที่ยังไม่มีค าตอบ หรือสิ่งที่ไม่ได้คาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้าด้วยเช่นกัน ขั้นตอนต่อไป เป็นเรื่องของทักษะและ
กลวิธีในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Skills and Strategies) การหาแนวทางหรือกลวิธีการเรียนรู้ที่จะ
เรียน (Learning to Learn) ต้องมีการฝึกปฏิบัติก่อนการเริ่มต้นจริงหรือไม่อย่างไร อาจใช้วิธีการเขียนบันทึก
มาช่วยสร้างภาพในจินตนาการถ้าเป็นแบบนี้จะท าอย่างไร การทดลองใช้แบบบันทึก การฝึกการสนทนา และ
การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่จะเข้าร่วมกระบวนการสะท้อนคิด ฝึกการใช้ค าถาม การจัดการกับการคาดการณ์
หรือสมมติฐานที่ตั้งไว้ผิดพลาด และการจัดการสะท้อนคิดอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
2) การสะท้อนคิดต่อเหตุการณ์ที่ก าลังเกิดขึ้น เป็นขั้นตอนของการสะท้อนคิดที่มี
ความเกี่ยวข้องกับกระบวนการใน 3 ส่วน ดังนี้ คือ
2.1) กำรสังเกต (Noticing) เป็นกระบวนการตระหนักกับสิ่งที่ก าลังเกิดขึ้น
รอบตัวผู้เรียนทั้งปัจจัยจากภายนอกและปัจจัยภายในของผู้เรียน อาทิ ความคิดและความรู้สึกของตนเอง การ
สังเกตเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกันกับการสะท้อนคิด