Page 38 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 38

4. รูปแบบการสะท้อนคิดของ Lowe และคณะ

                              Lowe และคณะ (2007) ได้ท าวิจัยเพื่อศึกษาบทบาทของการสะท้อนคิดในการพัฒนาให้เกิด

                       การเรียนรู้จากการศึกษาต่อเนื่องไปสู่การปฏิบัติ โดยได้พัฒนาการสะท้อนคิดของกลุ่มตัวอย่าง โดย
                       น าเสนอรูปแบบการพัฒนาการสะท้อนคิดที่ประกอบด้วยปัจจัยเฉพาะบุคคล บริบทของการปฏิบัติ

                       เนื้อหาที่น ามาสะท้อนคิด กลุ่มผู้ฝึกสะท้อนคิด และการเรียนรู้ภายหลังผ่านกระบวนการสะท้อนคิด

                       แสดงรายละเอียดดังภาพต่อไปนี้


















                           ภาพที่  10  รูปแบบการพัฒนาการสะท้อนคิดของ Lowe และคณะ (2007: 145)


                       โดยสรุป การเรียนรู้แบบสะท้อนคิดมีความส าคัญและจ าต่อการพัฒนาทักษะทางปัญญาส าหรับผู้เรียน

               ที่เน้นการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยน าวิธีการสะท้อนคิดมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็น
               แนวทางที่เกิดประโยชน์ในการเตรียมบุคลากรด้านการสอน และมีความส าคัญต่อผู้เรียนในการพัฒนาทักษะ

               ทางปัญญาท าให้เกิดการคิด การตัดสินใจ การแก้ปัญหาและพัฒนางานด้วยกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ท า

               ให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงการบริการกับการเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ พร้อมทั้งมีโอกาสได้วิเคราะห์ วิพากษ์
               และประเมินสิ่งที่ปฏิบัติ รวมทั้งได้รับข้อเสนอแนะในการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป



                       รูปแบบการสะท้อนคิดได้มีการพัฒนาที่หลากหลาย โดยมีโครงสร้างของรูปแบบการสะท้อนคิด ตาม
               แนวคิด ทฤษฎี หลักการและวัตถุประสงค์ตามการศึกษา เพื่อสื่อความหมายให้เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการและ

               บริบทที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ผู้สอนสามารถน ารูปแบบเหล่านี้ไป

               ประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตามควรต้องวิเคราะห์จุดดี และข้อจ ากัด ตลอดจนค านึงถึงผลลัพธ์ที่
               ต้องการพัฒนา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาการสะท้อนคิดที่ความเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้เรียน
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43