Page 39 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 39
บทที่ 2
การเตรียมผู้สอน ผู้เรียน และเครื่องมือ
ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดองค์ประกอบที่ส าคัญคือ ผู้สอน ผู้เรียน และทักษะการ
เรียนรู้แบบสะท้อนคิดซึ่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนมีความส าคัญคือ เป็นผู้ที่สร้างประสบการณ์
กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ผู้เรียนมีความส าคัญในฐานะผู้สะท้อนการเรียนรู้และบอก
ผลลัพธ์จากการเรียนรู้ ส่วนทักษะการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดเป็นพื้นฐานที่ส าคัญ ที่ท าให้ผู้สอนและผู้เรียนเกิด
ความรู้ ความเข้าใจสามารถพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดและเพิ่มระดับการสะท้อนคิดในขั้นที่สูงขึ้น ส่งผลต่อ
ผลลัพธ์ที่คาดหวังคือการพัฒนาทักษะทางปัญญาของผู้เรียน
บทบาทผู้สอน
บทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดคือ ผู้อ านวยความสะดวก (Facilitator) ในการ
จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดให้เกิดกับผู้เรียน นอกจากเนื้อหาสาระในรายวิชาทั้งนี้ผู้สอนควร
ได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความเข้าใจในด้านบทบาทของผู้สอน บทบาทผู้เรียน และทักษะการเรียนรู้แบบ
สะท้อนคิดสิ่งที่ส าคัญคือผู้สอนควรพัฒนาตนเองให้มีคุณลักษณะแบบนักสะท้อนคิด คือมีความตระหนักรู้ใน
ตนเอง และสามารถประเมินตนเองเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของตนให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา การ
พัฒนาตนเองให้มีความเป็นผู้สอนแบบนักสะท้อนคิดโดยเฉพาะการสะท้อนคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้จึงเป็น
กลไกหนึ่งที่ช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้และการพัฒนา
คุณภาพผู้เรียน
บทบาทผู้สอนในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด สามารถสรุปได้ดังนี้ (สุพิมล ขอผล, 2558 และ
ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ และเยาวลักษณ์ มีบุญมาก, 2557, หน้า 4 - 5)
1. มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
2. สามารถระบุเป้าหมาย หัวข้อการสอน วัตถุประสงค์และมอบหมายงานให้ผู้เรียนได้อย่าง
ชัดเจน โดยการมอบหมายงานล่วงหน้า เพื่อให้ผู้เรียนมีเวลาในการเตรียมตัว คิดวิเคราะห์ และติดตามการ
สะท้อนคิดอย่างต่อเนื่อง