Page 42 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 42

จัดการเรียนรู้ ในกรณีของการใช้กระบวนการกลุ่ม อาจจ าแนกกลุ่มตามสาระการเรียนรู้ หรือระดับชั้น การ

               สะท้อนการจัดการเรียนรู้ โดยเพื่อนจะช่วยเพิ่มมุมมองและแนวคิดในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
               ที่หลากหลายจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน การสะท้อนการจัดการเรียนรู้ในลักษณะนี้ ผู้สอน

               จึงควรเปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นที่เพื่อน ๆที่ช่วยกันสะท้อนการจัดการเรียนรู้ของตน รวมทั้งแสดงการ

               สะท้อนต่อการจัดการเรียนรู้ของเพื่อนๆ อย่างตรงไป ตรงมา และให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์


               การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด

                       คู่มือการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดเล่มนี้ พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด

               ส าหรับผู้สอน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
               และสามารถน าไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด โดยผู้สอนสามารถพัฒนาการ

               เรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านกระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่

                           1) การเรียนรู้ (Learn)
                           2) การสะท้อนการเรียนรู้ (Reflective learning)

                           3) การฝึกปฏิบัติการสะท้อนคิด (Reflective practice)
                           4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share and Learn)


                           โดยมีรายละเอียดดังนี้

                       1. ขั้นการเรียนรู้ (Learn) หมายถึง การที่ผู้สอนศึกษาค้นคว้า และฝึกทักษะตามเนื้อหาในคู่มือ

              การจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ซึ่งแบ่งเนื้อหาเป็น 4 ส่วน ตามล าดับได้แก่ ความรู้พื้นฐานในการจัดการ  1  (
                 2  เรียนรู้แบบสะท้อนคิด) การเตรียมตัวผู้สอน ผู้เรียน และเครื่องมือในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบสะท้อน

              คิด 3) การด าเนินการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด และ 4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด

                       2. ขั้นการสะท้อนการเรียนรู้ (Reflective learning) หมายถึง การที่ผู้สอนใช้กระบวนคิด

              เพื่อพิจารณาไตร่ตรองการจัดการเรียนรู้ของตนเองหรือบุคคลอื่น เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้

              บรรลุเป้าหมายและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด การที่ผู้สอนสะท้อนการเรียนรู้ของตนเองและแลกเปลี่ยนมุมมองการ
              จัดการเรียนรู้กับบุคคลอื่นอย่างสม่ าเสมอ จะท าให้มีข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของ

              ตนเองให้ดียิ่งขึ้น การสะท้อนการเรียนรู้จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาตนเองของผู้สอน และสามารถน าไปใช้

              ประโยชน์ในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ตั้งแต่ระยะการเตรียมก่อนการสอน เช่น การค้นหาว่าผู้สอน
              ผู้เรียน ต้องการและคาดหวังผลลัพธ์การเรียนรู้อะไร รวมถึงความรู้ด้านเนื้อหา ทักษะและกระบวนการจัดการ

              เรียนรู้ นอกจากนี้การสะท้อนการเรียนรู้ยังมีความจ าเป็นทั้งในระยะการด าเนินการสอน การวัดและประเมินผล
              เนื่องจากการสะท้อนการเรียนรู้ในมุมมองของผู้สอน ผู้เรียน และบุคคลที่เกี่ยวข้องมีความส าคัญต่อการปรับปรุง

              และพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47