Page 43 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 43
การสะท้อนการเรียนรู้เป็นสิ่งส าคัญ โดยผู้สอนต้องมีการวางแผน ก าหนดการด าเนินงานเป็นขั้นตอนที่
ชัดเจน เช่น การบันทึกสะท้อนการเรียนรู้ของผู้สอน ก่อนการสอน ระหว่างการสอน และหลังการสอน โดยการ
บรรยายสภาพการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น การค้นหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผล เชื่อมโยงไปถึงการวางแผน
ปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในครั้งต่อไป รวมถึงการออกแบบการสะท้อนการเรียนรู้ของผู้เรียน และ
บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ร่วมสอน ผู้สังเกตการณ์ เป็นต้น
ดังนั้น การที่ผู้สอนสะท้อนการเรียนรู้ (Reflective Learning) ของตนเอง และการสะท้อนการเรียนรู้
ร่วมกับบุคคลอื่น จะท าให้ได้มุมมองที่ครอบคลุมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ น าไปสู่การเตรียมการ การ
ด าเนินการ การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ที่ดี ซึ่งการสะท้อนคิดอย่างเป็นระบบจะน าไปสู่การพัฒนา
คุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืนในที่สุด
3. ขั้นการฝึ กปฏิบัติการสะท้อนคิด)Reflective practice ( หมายถึง การที่ผู้สอนฝึก
ปฏิบัติการสะท้อนคิดด้วยตนเอง ในที่นี้ใช้วงจรการสะท้อนคิดของ Gibbs )1988 (เนื่องจากเป็นวงจรที่มี
โครงสร้างชัดเจน เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ปฏิบัติได้ง่ายและเหมาะสมส าหรับการประยุกต์ใช้ในการ
จัดการเรียนรู้ ซึ่ง Gibbs ได้แบ่งขั้นตอนการสะท้อนคิดเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
) การบรรยายสภาพการณ์ 3.1Description( เป็นการบรรยายว่า เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น
บ้าง )What happenedอะไรเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการสะท้อนคิด เป็นการบรรยายที่เกิดจากความรู้สึกที่ (
ก าลังเผชิญกับสถานการณ์นั้น ๆ
3.2 ความรู้สึก (feelings) เป็นการแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นว่าคิดและรู้สึกอย่างไรต่อ
เหตุการณ์นั้นๆ (What were you thinking and feeling) โดยสังเกตความรู้สึก และการรับรู้ว่าเรามีปฏิกิริยา
อย่างไร หรือรู้สึกอย่างไรกับอุบัติการณ์ สถานการณ์ หรือประเด็นแนวคิดนั้น เช่น การขาดความมั่นใจ ความ
กลัว ความสับสนในการปฏิบัติงาน เป็นต้น
3.3 การประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินว่า มีเหตุการณ์อะไรบ้างที่แสดงถึง
ความส าเร็จ และความล้มเหลว (What was good and bad about experience) โดยการประเมินจาก
เหตุการณ์ในทางที่ดีหรือไม่ดีเกี่ยวกับอุบัติการณ์ สถานการณ์ หรือประเด็นแนวคิดนั้น แล้วน าผลการประเมินที่
ให้คุณค่า มาใช้ในการตัดสินใจ
3.4 การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นการวิเคราะห์เหตุการณ์ในภาพรวม (What sense can
you make of the situation) โดยการใช้ความรู้สึก ประสบการณ์เดิม ในวิเคราะห์สถานการณ์
3.5 การสรุป (Conclusion) เป็นการสรุปความคิดรวบยอดว่า จะท าสิ่งใดที่สร้างความ
แตกต่างจากเดิมได้บ้าง (What else could you have done) โดยใช้เหตุผลจากการวิเคราะห์ สิ่งที่ได้เรียนรู้
ร่วมกับประสบการณ์เดิมในการสรุปผลการเรียนรู้
3.6 การวางแผนปฏิบัติ (Action plan) เป็นการวางแผนว่าจะท าสิ่งที่แตกต่างนั้นได้
อย่างไร (If it arose again, what would you do) น าสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปวางแผนการปฏิบัติในสถานการณ์ใหม่