Page 41 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 41

9. กล้าแสดงความคิดเห็น มีการสังเกตที่ดี มีความรับผิดชอบ มีวินัย และตรงต่อเวลา

                              10. สามารถสะท้อนคิดเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้


                       นอกจากการตระหนักรู้ในบทบาทและการท าหน้าที่อย่างดีและเหมาะสมของผู้สอนและผู้เรียนแล้ว สิ่ง

               ที่จะช่วยให้การจัดการเรียนรู้ประสบความส าเร็จได้ ควรมีการประเมิน ปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
               แบบสะท้อนคิดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นบทบาทที่ส าคัญของผู้สอน โดยการสะท้อนการจัดการเรียนรู้เป็นวิธีการ

               หนึ่งที่ผู้สอนสามารถน ามาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ตั้งแต่ขั้นการเตรียมการ การวางแผน การด าเนินงาน
               การประเมินและการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น



               การสะท้อนการจัดการเรียนรู้ (Reflective teaching)

                       การสะท้อนการจัดการเรียนรู้ สามารถแสดงใน 4 มุมมอง (Stephen Brookfield, 1995 อ้างถึงใน

               King and Hibbison, 2000 และ Miller, 2010) ได้แก่
                              1. มุมมองจากตนเอง เป็นการสะท้อนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนด้วยตนเอง  ) Self  –

               reflective โดยใช้ การสังเกตตนเอง )   (Self – observation และการประเมินตนเอง )   (Self  –  assessment (
                 เป็นเครื่องมือส าคัญในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้มุมมองจากตนเองจะช่วยให้ผู้สอนเตรียม

               ตัว วางแผน บันทึกกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ได้อย่างละเอียดและครบองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้

               เนื่องจากเป็นผู้ที่บริหารจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
                              2. มุมมองจากผู้เรียน เป็นการสะท้อนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนโดยให้ผู้เรียนให้ข้อมูล

               ย้อนกลับ (feedback การใช้แบบสอบถาม )   (Questionnaire หรือการอภิปรายกลุ่ม )   (Group discussions)

               เพื่อรวบรวมข้อมูลซึ่งใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสะท้อนการจัดการเรีย นรู้ข้อมูลที่ได้จากมุมมอง
               ของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้สอนเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อความส าเร็จหรือความล้มเหลวในการจัดการเรียนรู้มากขึ้น

               เนื่องจากผู้เรียนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้โดยตรง การรับทราบและท าความเข้าใจ
               ความรู้สึก ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เรียนจึงนับเป็นประโยชน์ยิ่งต่อกระบวนการสะท้อนการจัดการ

               เรียนรู้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน ดังนั้น ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สะท้อนผล

               การจัดการเรียนรู้ของผู้สอนเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง
                              3. มุมมองจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎี เป็นการสะท้อนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนโดย

               การศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อเป็นกรอบในการตีความสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หรืออาจ
               เกิดขึ้นในการจัดการเรียนรู้ การสะท้อนการจัดการเรียนรู้ที่ประสบผลส าเร็จจะต้องอาศัยประสบการณ์เป็นตัว

               ขับเคลื่อนกระบวนการคิด ประสบการณ์ที่ใช้อาจได้จากการปฏิบัติด้วยตนเองหรือจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎี

               และการอ่านประสบการณ์ของผู้อื่นซึ่งสามารถน ามาประยุกต์ ถ่ายโอนเข้ากับการปฏิบัติของตนเองได้
                              4. มุมมองจากเพื่อนผู้สอนเป็ นการสะท้อนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน โดยเพื่อนผู้สอน

               ในลักษณะของการจับคู่พัฒนาหรือการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่ออภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีต่อการ
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46