Page 40 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 40
3. สามารถสะท้อนคิดแก่ผู้เรียนทั้งรายบุคคล และรายกลุ่มอย่างเหมาะสม ตามหัวข้อ หรือ
สถานการณ์ที่ต้องการวัด และประเมินการสะท้อนคิดของผู้เรียน โดยการตั้งค าถาม การเขียนบันทึกการ
สะท้อนคิดจากประสบการณ์จริง การอภิปรายกลุ่ม เป็นต้น เพื่อประเมินและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
4. เสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดร่วมกัน
5. สามารถเชื่อมโยงความรู้และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม
6. เป็นผู้ฟังที่ดี มีความเป็นกันเอง เปิดใจให้ผู้เรียนได้ระบายความรู้สึก
7. มีความเป็นกัลยาณมิตร เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล เข้าใจกระบวนการการเรียนรู้
ของผู้เรียน และสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียน
8. เป็นที่ปรึกษาและไว้วางใจได้ สามารถแก้ปัญหาโดยไม่ชี้น า ไม่ต าหนิ
9. มีความอดทน และควบคุมอารมณ์ได้ดี
10. ช่างสังเกต ไวต่อความรู้สึก
11. สามารถสร้างแรงจูงใจหรือกระตุ้นความสนใจในชั้นเรียน โดยการใช้ค าถามปลายเปิด
เพื่อกระตุ้นการคิดและการแสดงความคิดเห็นอย่างสม่ าเสมอ พร้อมทั้งให้การเสริมแรงโดยการให้ข้อมูล
ย้อนกลับ (feedback) ทันที และชมเชยเมื่อผู้เรียนท าได้ดี
บทบาทผู้เรียน
บทบาทของผู้เรียนในการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดนั้น ผู้เรียนต้องตระหนักรู้และควบคุมการเรียนรู้ของ
ตนเอง ด้วยความกระตือรือร้นโดยการมีส่วนร่วมในการสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อประเมินว่าอะไรคือ
สิ่งที่ตนเองรู้ อะไรคือสิ่งที่ตนต้องการรู้ และจะมีวิธีที่จะลดช่องว่างหรือเติมเต็มความรู้ตลอดการเรียนรู้นั้นได้
อย่างไร
บทบาทผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด สามารถสรุปได้ดังนี้ (สุพิมล ขอผล, 2558 และ
ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ และเยาวลักษณ์ มีบุญมาก, 2557, หน้า 4 - 5)
1. ต้องเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ เข้าใจในลักษณะวิธีการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด และมี
ส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนรู้
2. มีความกระตือรือร้น และมีการวางแผนการเรียนรู้ที่ดี
3. มีการฝึกทักษะการสะท้อนคิดอย่างเพียงพอ
4. จัดแบ่งเวลาในการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดอย่างเหมาะสม
5. สร้างความเข้าใจ สรุปประเด็นและเขียนสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
6. มีความเป็นอิสระในการเขียน และมีทักษะการตั้งค าถามที่ดี
7. มีการเรียนรู้จากสภาพการณ์จริง เรียนรู้ตรงกับความต้องการ ความสนใจและความถนัด
ของตน
8. สามารถน าสื่อต่างๆมาใช้ในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม