Page 37 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 37

3. รูปแบบการสะท้อนคิดของ Redmond
                              Redmond (2004) ได้พัฒนากระบวนการสะท้อนคิดที่น าไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

               โดยในรูปแบบที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย 5 ระยะ ส าหรับการฝึกปฏิบัติ ดังนี้

                                     ระยะที่ 1 มีควำมเกี่ยวข้องกับกำรปฏิบัติงำนประจ ำ ทัศนคติทั่วไปของกลุ่มผู้ใช้บริการซึ่ง
               พบว่ามีการเริ่มต้นใช้กับกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ ในระยะนี้เป็นการช่วยให้มีความคุ้นเคยกับการท างานเป็นกลุ่ม

                                     ระยะที่ 2 เริ่มมีกำรเคลื่อนที่ของกำรมีส่วนร่วม เริ่มมีการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น
                                     ระยะที่ 3 ใช้กระบวนกำรสะท้อนคิดในกำรฝึกปฏิบัติ โดยให้กลุ่มผู้เข้าร่วมได้เห็นตนเองจาก

               มุมมองของผู้เข้าร่วมอื่น ๆ สัญลักษณ์ที่ใช้ในระยะนี้เริ่มเปลี่ยนเป็นทรงกลม ท าให้ดูสบายตา ในระยะนี้เป็นการ

               เตรียมความพร้อมก่อนที่จะเคลื่อนสู่การพัฒนาในรูปแบบที่สมบูรณ์
                                     ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มีกำรพัฒนำเต็มรูปแบบ ประกอบด้วยวิธีการสอนและการแนะน าที่

               ซับซ้อนขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติได้ตรวจสอบสมมติฐานภายใต้แนวคิดและการปฏิบัติ กิจกรรมที่ใช้ ได้แก่ การ

               น าเสนอกรณีศึกษา การใช้ค าถามเชิงวิพากษ์ และกลไกในการวิเคราะห์การสะท้อนคิด สัญลักษณ์ที่ใช้ในระยะ
               นี้เป็นการหมุนครบรอบของรูปแบบ ซึ่งหมายถึงการที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในระยะนี้มีความสามารถในการแสดง

               ทัศนะได้รอบด้าน และสามารถพัฒนาไปถึงระดับการเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติแบบใหม่

                                     ระยะที่ 5 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ำย เป็นระยะที่ผู้เข้าร่วมสามารถร่วมกันอภิปรายและเพิ่ม
               ความท้าทายในการฝึกปฏิบัติและน าไปสู่การพัฒนาวิธีการใหม่ในการปฏิบัติ สัญลักษณ์ของระยะนี้เป็นลักษณะ

               ของวงกลมที่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ซึ่งเป็นต าแหน่งที่กลุ่มผู้ปฏิบัติได้ร่วมกันค้นหา และประเมินวิธีการใหม่ที่ทุก
               ฝ่ายพอใจเพื่อที่จะน าไปใช้ต่อไป รูปแบบการสะท้อนคิดของ Redmond น าเสนอได้ดังภาพต่อไปนี้





















                                   ภาพที่ 9 รูปแบบการสะท้อนคิดของ Redmond (2004: 139)
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42