Page 33 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 33
ผู้เชี่ยวชาญยอมรับในขณะนั้นเรียกว่า มโนทัศน์คลาดเคลื่อน การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้จึงเน้นให้
ผู้เรียน และบุคคลที่แวดล้อมผู้เรียน ตรวจสอบความหมายที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในขณะที่มีการเรียนการสอนหาก
พบว่าผู้เรียนมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน ผู้สอนในฐานะที่เป็นผู้คอยอ านวยความสะดวกในการเรียนของผู้เรียน
จะต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสได้พิจารณาตรวจสอบมโนทัศน์ของตนเองอีกครั้ง โดยผู้สอนอาจต้องจัด
กิจกรรมในท านองเดียวกันนี้หลายครั้งจึงจะสามารถแก้ไขมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนของผู้เรียนได้ สรุปได้ว่า
ผู้เรียนต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบความรู้ที่ตนเองสร้างขึ้นว่าสอดคล้องหรือคลาดเคลื่อนจากความรู้ที่
ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ยอมรับหรือไม่
3.2 การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความรู้เดิมของผู้เรียน การเรียนรู้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับบริบททางสังคม
วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมเท่านั้น หากแต่การเรียนรู้ยังขึ้นอยู่กับความรู้เดิม แรงจูงใจ ความคิดและอารมณ์
ของผู้เรียนอีกด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการเลือกรับสิ่งเร้าและวิธีการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่ง
เหล่านั้น และความรู้เดิมของผู้เรียนจะมีอิทธิพลต่อการที่ผู้เรียนจะเลือกเรียนอะไรและใช้วิธีเรียนรู้อย่างไร การ
จัดการเรียนการสอนแนวคิดนี้จึงเน้นความส าคัญเกี่ยวกับความรู้เดิมของผู้เรียน
3.3 การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนแก้ปัญหาหรือสืบสอบเพิ่มเติมเพื่อลดความขัดแย้ง
ทางความคิดของตนเอง การจัดการเรียนการสอนตามแนวนี้ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในการ
แก้ปัญหาตามสภาพจริง หรือควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง และท าการสืบสอบด้วยตนเอง เครื่องมือ
ส าคัญที่บุคคลน ามาใช้ คือทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการคิดระดับสูง วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3.4 การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมเกิดจากการปฏิสัมพันธ์กันทางสังคมซึ่งอธิบายผล
จากการร่วมมือกันทางสังคมได้ว่า ความรู้สามารถถ่ายโอนจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคลหนึ่งได้ การแลกเปลี่ยน
และการสะท้อนคิดแก่กันและกัน การให้เหตุผลกับความคิดเห็นของตนเองหรือโต้แย้งความคิดเห็นของบุคคล
อื่น ท าให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพิจารณากระบวนการคิดของตนเองเปรียบเทียบกับกระบวนการคิดของผู้อื่น ท าให้
มีการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับการสร้างความหมายของสิ่งต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับเปลี่ยนความ
เข้าใจของตนเองเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้
3.5 การเรียนรู้เป็นกระบวนการก ากับตนเองของผู้เรียน การก ากับตนเองเป็นองค์ประกอบ
ส าคัญของการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมนั้นผู้เรียนต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเรียนรู้ของตนเองด้วย
การท าให้การเรียนรู้นั้นเป็นการเรียนรู้ที่มีความหมาย คือเข้าใจเรื่องที่เรียนได้อย่างลึกซึ้ง จนสามารถสร้าง
ความหมายของสิ่งนั้นๆได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถน าความรู้และกระบวนการเรียนรู้ไปใช้ในบริบทอื่นได้
เป็นความรับผิดชอบของผู้เรียนที่ต้องท าความเข้าใจมโนทัศน์เฉพาะของเรื่องที่เรียนว่ามีความสัมพันธ์กัน
อย่างไร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในลักษณะที่เป็นองค์รวม
โดยสรุป การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสรรคนิยม ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ หรือความหมายของสิ่งที่รับรู้
ขึ้นมาด้วยตนเอง โดยผู้เรียนแต่ละคนอาจสร้างความหมายของสิ่งที่รับรู้แตกต่างกันตามความรู้เดิมของแต่ละคน
การสร้างความรู้โดยผู้เรียนเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเกี่ยวข้องกับกระบวนการอื่นๆอย่างน้อย
3 กระบวนการ ได้แก่ 1) กระบวนการก ากับตนเอง 2) กระบวนการทางสังคม และ 3) กระบวนการสืบสอบ