Page 30 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 30
ขั้นที่ 1 ประสบการณ์รูปธรรม (Concrete experience) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมี
ประสบการณ์การเรียนรู้ในสถานการณ์ต่าง ๆ และยึดความรู้สึกของตนเองเป็นหลัก ตามที่ตนเองได้ประสบใน
ขณะนั้น มากกว่าการใช้ความคิดอย่างเป็นระบบในการจัดการกับสถานการณ์
ขั้นที่ 2 การสังเกตอย่างไตร่ตรอง (Reflective observation) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมุ่งที่
จะท าความเข้าใจความหมายของประสบการณ์ที่ได้รับโดยการสังเกตอย่างรอบคอบเพื่อการไตร่ตรองพิจารณา
จากหลายแง่มุม จะเรียนรู้จากการเฝ้าดูและการฟัง
ขั้นที่ 3 การคิดเชิงนามธรรม (Abstract conceptualization) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมุ่ง
ใช้เหตุผลและความคิด มากกว่าการใช้ความรู้สึกในการเข้าใจสถานการณ์ต่างๆ สามารถสร้างความคิดรวบยอด
ใหม่ๆ และเรียนรู้โดยการคิด
ขั้นที่ 4 การทดลองปฏิบัติจริง (Active experimentation) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนน าเอา
ความเข้าใจแนวคิด หรือความคิดรวบยอดใหม่ๆ ที่สรุปได้ไปทดลองปฏิบัติจริง ในสถานการณ์ต่างๆ เป็นการ
เรียนรู้จากการกระท าเพื่อทดสอบความถูกต้อง หรือเน้นที่การประยุกต์ใช้ โดยรูปแบบดังภาพที่ 5
ภาพที่ 5 รูปแบบวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของ Kolb (1984)
จากแนวคิดดังกล่าวของ Kolb สามารถแบ่งเป็นรูปแบบเรียนรู้ของบุคคลว่า ที่เกิดจากการผสมผสาน
กันระหว่างลักษณะการเรียนรู้ที่เด่นของแต่ละมิติ โดยใช้แกน X และ Y แทนมิติการเรียนรู้ และหาจุด