Page 35 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 35
2.2) กำรแทรกแซง (Intervening) เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ภายใน
ของผู้เรียนเองที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งกระบวนการแทรกแซงนี้ มิใช่เป็นการกระท าที่เกี่ยวข้องกับการ
แสดงออกทางร่างกายหรือวาจา เช่น การใช้ค าถามยั่วยุ การแสดงออกที่ไม่เห็นด้วย หากแต่เป็นกระบวนการ
เปลี่ยนแปลงความคิด ความรู้สึก หรือความรู้ภายในตัวของผู้เรียนเอง
2.3) กำรสะท้อนคิดขณะนั้น (Reflection in Action) เป็นขั้นตอนที่อาศัย
กระบวนการทั้ง 3 อย่างนี้ ไปพร้อมกัน เพื่อแปลความ (Interpret Events) เหตุการณ์หรือเรื่องที่ก าลังสะท้อน
คิด และผลของการแทรกแซงของผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นในกรณีที่สถานการณ์การสะท้อนคิดเกิดการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาจใช้วิธีการจดบันทึกร่วมด้วยก็ได้ เพื่อบันทึกข้อมูลที่มีความส าคัญที่เกิดขึ้นมาใหม่
หรืออาจใช้สิ่งที่เพิ่งคิดสะท้อนได้ใหม่หรืออาจใช้จดสิ่งที่เพิ่งคิดสะท้อนได้ใหม่ และจดไว้เพื่อสังเกตผลที่ได้จาก
การสะท้อนคิด
3) การสะท้อนคิดหลังเหตุการณ์นั้นได้สิ้นสุดลงไปแล้ว การสะท้อนคิดจะเกิดขึ้น
ได้เป็นอย่างดี เมื่อเหตุการณ์หรือสภาพความกดดันนั้นได้ผ่านพ้นไป อย่างไรก็ตามกระบวนการสะท้อนคิดอาจ
ไม่ได้มาจากการคิดเพียงอย่างเดียว บางครั้งอาจมีในเรื่องของความรู้สึก อารมณ์และการตัดสินใจเข้ามา
เกี่ยวข้องด้วย กระบวนการสะท้อนคิดในขั้นนี้ มีกระบวนการดังนี้
3.1) กำรกลับเข้ำไปสู่เรื่องนั้นอีกครั้ง (Return to Experience) เป็นการฉาย
ภาพย้อนกลับไปยังเรื่องราวนั้นว่า ได้เกิดอะไรขึ้น และได้เรียนรู้อะไรบ้างจากสิ่งนั้น อาจใช้วิธีการเขียนบันทึก
เพื่อช่วยเตือน หรือให้สามารถจดจ าด้วยก็ได้
3.2) กำรเข้ำถึงควำมรู้สึก (Attending to Feeding) เป็นการนึกย้อนกลับไป
คิดถึงอารมณ์ความรู้สึกที่เรามีต่อเรื่องนั้น ๆ ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้เองมีส่วนต่อการสะท้อนคิดถึงความเป็นไปได้
ของการคิดและการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นได้แต่ในขณะเดียวกันอารมณ์และความรู้สึก ก็อาจเป็นตัวท าลาย
หรือสกัดกั้นการรับรู้หรือความเข้าใจในขั้นตอนการสะท้อนคิดได้เช่นกัน
ภาพที่ 7 รูปแบบโอกาสในการเกิดสะท้อนคิดของ Bound (2001: 172)