Page 69 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 69
3. แบบเขียนบันทึก (Records) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเขียนบันทึกพฤติกรรมหรือ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประสบการณ์ และการแสดงความรู้สึกของตนเอง หรือบันทึกกิจกรรมในแต่ละวัน
วัตถุประสงค์ที่ส าคัญของการจดบันทึก คือ การหาค าตอบเกี่ยวกับความคิดเห็นที่สะท้อนออกมาในรูปแบบ
ข้อความเขียนในขอบเขตของสถานการณ์ที่พบเจอ บุคคลที่เกี่ยวข้อง วิธีการปฏิบัติในสถานการณ์ที่พบเจอ
ความรู้สึกที่เกิดขึ้น ผลที่เกิดจากการปฏิบัติในครั้งนั้น การเรียนรู้ หรือการวางแผนน าความรู้หรือประสบการณ์
ที่ได้รับไปใช้ในอนาคต ควรเขียนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งจะช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของความคิด
ความรู้สึก หรือความก้าวหน้าขึ้นนั่นเอง
4. แบบสอบถามปลายเปิ ด (Open-end Questionnaire) เป็นชุดของค าถามที่ใช้
รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการทราบ โดยผู้ตอบจะต้องเขียนตอบลงในแบบสอบถามด้วยตนเอง สามารถเขียน
ได้อย่างอิสระตามความต้องการของตน ตามประเด็นค าถามแต่ละข้อที่ก าหนดไว้ แบบสอบถามปลายเปิดเป็น
แบบสอบถามที่มีความยืดหยุ่นในการตอบสูง เนื่องจากไม่มีการก าหนดกรอบค าตอบที่ตายตัวเกินไป ท าให้ได้
ข้อมูลการตอบจ านวนมาก และหลากหลาย จึงมักใช้ในการสะท้อนคิดที่ต้องการสอบถามความคิดเห็นที่ไม่มีผิด
หรือถูก
ในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดนั้น การประเมินผู้เรียนถือเป็นส่วนที่ส าคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็น
การพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของการพัฒนาทักษะทางปัญญา ซึ่งการประเมินผลการจัดการ
เรียนรู้แบบสะท้อนคิด สามารถประเมินได้หลากหลาย ตามกรอบแนวคิดแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และ
สอดคล้องตามเทคนิค วิธีการสอน ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมผลลัพธ์ที่ต้องการศึกษา ในที่นี้ได้น าเสนอตัวอย่าง
เครื่องมือที่พัฒนาโดย เชษฐา แก้วพรหม (2556) ซึ่งมีการน าไปใช้กันอย่างแพร่หลายทางการศึกษาพยาบาล
โดยเครื่องมือแบ่งออกเป็น 4 ชุด ประกอบด้วย แบบการประเมินความรู้ต่อการสะท้อนคิด แบบประเมิน
พฤติกรรมต่อการสะท้อนคิด แบบประเมินทัศนคติต่อการสะท้อนคิด และแบบประเมินการเขียนบันทึกสะท้อน
คิด ตามล าดับ (แสดงไว้ในภาคผนวก)
การประเมินความรู้ต่อการสะท้อนคิด
การประเมินความรู้ต่อการสะท้อนคิด เป็นการประเมินเพื่อให้ทราบถึงความเข้าใจในเนื้อหา หรือ
สาระส าคัญของสิ่งที่ต้องการประเมิน โดยรูปแบบเครื่องมือที่นิยมใช้ในการประเมินความรู้ นิยมใช้ข้อค าถามใน
ลักษณะต่างๆ แต่ทั้งนี้การวัดความรู้ต่อการสะท้อนคิดคงไม่ใช่ประเด็นหลัก ต่างจากการวัดพฤติกรรมการ
สะท้อนคิดของผู้เรียนซึ่งเป็นทักษะทางปัญญาที่เป็นเป้าหมายหลักที่แท้จริง ทั้งนี้เนื่องจากการวัดความรู้เป็น
การวัดความสามารถในระดับพื้นฐานของผู้เรียนเท่านั้น โดยตัวอย่างของแบบวัดความรู้ของการสะท้อนคิดอาจ
ประกอบด้วยข้อค าถามที่วัดความรู้ความเข้าใจในเรื่องความหมายและความส าคัญของการสะท้อนคิด
กระบวนการจัดการเรียนการสอนสะท้อนคิด ขั้นตอนของการสะท้อนคิด การตั้งค าถามสะท้อนคิด และการ
ประเมินผลการสะท้อนคิด แสดงไว้ดังตัวอย่างในภาคผนวก เอกสารที่ 1