Page 65 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 65
บทที่ 4
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
ความส าคัญของการวัดและประเมินผล การเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
การวัดและประเมินผลมีความส าคัญยิ่งต่อคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน เพราะผลจากการ
ประเมินจะเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจของผู้สอนในการพัฒนา และปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน
โดยทั่วไปการประเมินผลมีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ เพื่อรู้จักผู้เรียน เพื่อประเมินวิธีเรียนของผู้เรียน และเพื่อ
ประเมินพัฒนาการของผู้เรียน นอกจาก 3 ประการนี้แล้ว การประเมินผลยังมีประโยชน์ช่วยให้ผู้สอนทราบถึง
ประสิทธิภาพการสอน ซึ่งน าไปสู่การพัฒนาปรับปรุงเทคนิคการสอนที่เหมาะสมต่อไป
หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
ก่อนที่ผู้สอนจะเริ่มสร้างเครื่องมือ หรือออกแบบในการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้แบบ
สะท้อนคิด ผู้สอนต้องออกแบบเครื่องมือให้สอดคล้องกับรูปแบบงานที่มอบหมายให้ผู้เรียนท า และสอดคล้อง
กับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ บนพื้นฐานของการตอบค าถาม 4 ค าถามหลัก ได้แก่ ท าไมต้องวัดและประเมินผล?
วัดและประเมินผลอะไร ? วัดและประเมินผลอย่างไร ? และตัดสินผลการประเมินด้วยวิธีหรือเกณฑ์ใด ? การ
ตอบค าถามดังกล่าว จะช่วยก าหนดทิศทางและกรอบของกระบวนการวัดและประเมินผลให้ด าเนินไปอย่างเป็น
ระบบ ซึ่งหลักการประเมินผล มีดังนี้
1. ระบุถึงสิ่งที่จะประเมินอย่างชัดเจนว่าผลการเรียนรู้ที่ต้องการประเมินผู้เรียนประกอบด้วย
ลักษณะ (Traits) ที่ส าคัญอะไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อที่จะเลือกใช้เครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสม
2. เลือกเทคนิคการประเมินให้เหมาะสม เครื่องมือ รูปแบบค าถามที่ใช้จะต้องสอดคล้องกับ
ลักษณะของผู้เรียนที่มุ่งจะประเมิน และต้องค านึงถึงความเป็นปรนัย
3. ควรใช้เทคนิคการประเมินหลายอย่างประกอบกัน เครื่องมือต่างชนิดกัน มีข้อดี ข้อเสีย
แตกต่างกัน จึงควรเลือกเครื่องมือหลายอย่างให้ครอบคลุมผลสัมฤทธิ์และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
ลักษณะที่ต้องการประเมิน และควรประเมินหลาย ๆ ครั้ง
4. ควบคุมความคลาดเคลื่อนจากการวัดและประเมินให้เกิดน้อยที่สุด