Page 62 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 62

ตลอดเวลา ลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน โดยผู้เรียนคิดใคร่ครวญอย่างถ่องแท้ถึงสิ่งที่ตนเองก าลังลงมือ

               ท า ส่วนการใช้การสะท้อนคิดหลังการลงมือปฏิบัติการพยาบาล อาจจะท าในรูปแบบการประชุมเป็นทีมเพื่อ
               ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนในแต่ละวัน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนพิจารณาและเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่าน

               มา มีการทบทวนประสบการณ์ของตนเองที่ผ่านมาว่าตนได้เรียนรู้อะไรบ้าง เพื่อน าสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปวางแผนการ

               ท างานในอนาคตให้ดีขึ้น สิ่งส าคัญที่จะท าให้การใช้เทคนิคการสะท้อนคิดในการสอนภาคปฏิบัติประสบ
               ผลส าเร็จได้นั้นครูผู้สอนต้องมีการเตรียมการที่ดี ในการตั้งค าถามกับผู้เรียน ตัวอย่างกรอบค าถามส าหรับการ

               สอนภาคปฏิบัติในวิชาชีพพยาบาล มีดังนี้ (Sherwood & Deutsch, 2017)
                            การปฏิบัติการพยาบาลที่ส าคัญ 3 ล าดับแรกจากประสบการณ์ของนักศึกษาคืออะไร

                            นักศึกษาได้เรียนรู้อะไรในคลินิกบ้าง

                            มีประสบการณ์ทางคลินิกอะไรที่ช่วยให้นักศึกษามั่นใจในการเข้าสู่วิชาชีพนี้

                            นักศึกษาสังเกตหรือไม่ว่ามีใครที่เป็นแบบอย่างที่ดีหรือไม่ดีส าหรับนักศึกษา
                            มีอะไรที่นักศึกษาไม่มั่นใจในการปฏิบัติ นักศึกษารู้สึกอย่างไร

                            สิ่งส าคัญ 3 อย่างที่นักศึกษาสัญญาว่าจะปรับปรุงให้ดีขึ้น คืออะไรบ้าง


                       6. การตั้งค าถามด้วยเทคนิค RCA

                              ค าถามเพื่อการสะท้อน (R: Reflect) ถามถึงสิ่งที่สังเกตเห็น มองเห็น หรือถามความรู้สึกที่
               เกิดขึ้นจากการร่วมกิจกรรม

                              - ผู้เรียนมีความรู้สึกอย่างไร?
                              - มองเห็นอะไรในพฤติกรรมของบุคคลหรือในการท ากิจกรรมร่วมกัน

                              - ผู้เรียนมีความรู้สึกอย่างไร กับการขัดแย้งหรือการมีความเห็นไม่ตรงกันของเพื่อนในกลุ่ม

                              - หลังจากเกิดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างการท ากิจกรรมครั้งนี้ ผู้เรียนคิดว่าทุกคนที่
               เกี่ยวข้องมีความรู้สึกอย่างไร

                              - ผู้เรียนเคยสังเกตตนเองหรือไม่ว่า ใช้วิธีการใดจัดการกับความขัดแย้งในระหว่างการท า

               กิจกรรมร่วมกัน หรือท าอย่างไรความขัดแย้งในกลุ่มเพื่อนจึงยุติลง


                              ค าถามเพื่อการเชื่อมโยง (C: Connect) ถามเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์หรือ
               ความรู้ที่เคยมีมาก่อนกับประสบการณ์หรือความคิดที่ได้จากการเรียนรู้ใหม่

                              - ในช่วงที่ผ่านมา ผู้เรียนเคยเห็น เคยมีความรู้สึก หรือเคยปฏิบัติมาอย่างไรบ้าง?

                              - สิ่งที่สังเกตหรือพบเห็นมีความสอดคล้อง เหมือน หรือคล้ายคลึงกับสิ่งที่ผู้เรียนเคยปฏิบัติมา
               อย่างไรบ้าง

                              - ผู้เรียนเคยมีความขัดแย้งกับเพื่อนระหว่างท ากิจกรรมที่ผ่านมาหรือไม่ เกิดจากสาเหตุใด

                              - ผู้เรียนเคยจัดการหรือสยบความขัดแย้งไม่ให้ลุกลามบานปลายได้อย่างไรบ้าง ?
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67