Page 61 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 61
3. การแสดงบทบาทสมมติ (Role Play) ผู้เรียนมีอิสระในการแสดงออกในสถานการณ์ต่างๆ
โดยผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมุติ ควรให้ผู้เรียนมีเวลาเตรียมตัวส าหรับการแสดง
และใช้ระยะเวลาในการแสดงประมาณ 5 นาที อาจให้ผู้เรียนแสดงบทบาทในสถานการณ์ที่ผู้ป่วยเข้ารับการ
รักษาในโรงพยาบาล หรือการไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน อาจแสดงบทบาทสมมติเป็นแพทย์ พยาบาล ผู้ป่วย ญาติ
และบุคคลอื่นๆ ทั้งนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้สึกของตนเอง ได้สะท้อนคิดเกี่ยวกับคุณค่าและ
ความสามารถของตนเอง มีมุมมองต่อสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลาย ช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของ
ผู้เรียนได้ หลังจากนั้นมีการอภิปรายกลุ่มเพื่อสะท้อนคิด โดยรวมระยะเวลาทั้งหมดแต่ละกลุ่มไม่ควรเกิน 15
นาที (Sherwood & Deutsch, 2017)
4. การใช้ภาพศิลปะกระตุ้นความคิด (Visual Thinking Strategies: VTS) เป็น
เทคนิคการสอนโดยใช้ภาพศิลปะที่ถูกคัดสรรมาให้ผู้เรียนวิเคราะห์ โดยผู้สอนใช้ค าถามน าให้ผู้เรียนคิด เช่น
ท่านเห็นอะไรในภาพบ้าง ผู้เรียนเห็นอะไรในภาพ จึงท าให้พูดออกมาเช่นนั้น มีอะไรอีกหรือไม่ที่ผู้เรียนเห็นจาก
ภาพ กระบวนการทั้งหมดนี้จะท าให้ผู้เรียนเรียนรู้มุมมองที่หลากหลาย จากผู้อื่นที่อยู่ในกลุ่ม การเรียนด้วย
เทคนิคนี้จะให้ผู้เรียนมองงานศิลปะตามสภาพความเป็นจริง (Realistic) หรือศิลปะนามธรรม (Abstract)
ลักษณะภาพที่เป็นนามธรรมจะเหมาะสมกับผู้เรียนที่เริ่มเรียนด้วยเทคนิคนี้ เพราะจะไม่ปิดกั้นความคิดและ
ความสามารถในการตีความ มีความหลากหลายมากกว่า อาจน าผู้เรียนไปเรียนนอกสถานที่ที่พิพิธภัณฑ์หรือ
งานแสดงภาพศิลปะต่างๆ หรือน าภาพงานศิลปะมาให้ผู้เรียนดูในห้องเรียน เป็นต้น (Sherwood & Deutsch,
2017)
5. การสอนโดยใช้สถานการณ์จ าลอง (Simulation) การสอนที่จ าลองสถานการณ์จริงในไว้
ในชั้นเรียน โดยพยายามท าให้เหมือนจริงที่สุด มีการก าหนดกติกาหรือเงื่อนไข แล้วแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มให้เข้าไปใน
สถานการณ์จ าลองนั้นๆ ด้วยกิจกรรมนี้ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการเผชิญกับปัญหา ซึ่งจะต้องมีการตัดสิน
และใช้ไหวพริบ ในการใช้การสะท้อนคิดกับการสอนโดยใช้สถานการณ์จ าลองสามารถแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
ดังนี้คือ การสะท้อนคิดก่อนการลงมือปฏิบัติ การสะท้อนคิดขณะลงมือปฏิบัติและการสะท้อนคิดหลังการ
ลงมือปฏิบัติ (Sherwood & Deutsch, 2017)
ในการสอนภาคปฏิบัติ สามารถใช้การสะท้อนคิดในการปฏิบัติการพยาบาล โดยท าได้ทั้งในระยะก่อน
การปฏิบัติ ขณะปฏิบัติ และหลังจากการปฏิบัติ เช่น การประชุมปรึกษาทางการพยาบาลในตอนเช้า ซึ่งวิธีการ
นี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้ทบทวนและพิจารณาแผนการพยาบาลที่ก าลังวางแผนที่จะท าอย่างรอบคอบ โดยการตั้ง
ค าถามกับตนเองว่าก าลังจะท าอะไร เพื่ออะไร เพราะเหตุใด เหมาะสมหรือไม่ อย่างไร มีวิธีการอื่นที่
นอกเหนือจากที่จะท าหรือไม่ จะพัฒนาวิธีการเหล่านี้ให้ดีขึ้นอย่างไร พร้อมกับพิจารณาความรู้สึกตนเอง
ทั้งทางบวกและทางลบว่าเป็นอย่างไร ควรปรับเปลี่ยนความรู้สึกนั้นอย่างไร (Sherwood & Deutsch, 2017)
การใช้การสะท้อนคิดขณะผู้เรียนปฏิบัติการพยาบาล ผู้สอนสามารถใช้ค าถามกระตุ้นให้ผู้เรียนได้
สะท้อนคิดในสิ่งที่ก าลังปฏิบัติการพยาบาลว่า สิ่งที่ด าเนินการอยู่นั้นเป็นอย่างไร ถ้าไม่ด าเนินการเช่นนี้ จะท า
แบบใดหรือวิธีใดได้อีกบ้าง ท าให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักในการปฏิบัติการพยาบาลด้วยสติสัมปชัญญะ