Page 56 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 56
สิ่งที่ควรปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
1. การใช้ค าถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นการคิดและเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก
2. การใช้ค าถามที่มีความเฉพาะเจาะจง เพื่อความชัดเจน อยู่ในขอบเขตที่ก าหนด ไม่หลงประเด็น
3. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เกิดการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงและ
พัฒนา
4. สร้างบรรยากาศ การกระตือรือร้น อยากรู้ อยากถาม อยากเรียนรู้
5. การยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง มุมมองที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาการเรียนรู้
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
1. การใช้ค าถามปลายปิด อาจท าให้ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน และไม่น าไปสู่การขยายความคิดในวงกว้าง
2. การตัดสิน หรือต าหนิ ท าให้เกิดบรรยากาศความตึงเครียด และเป็นอุปสรรคต่อการคิดได้
3. การบังคับให้พูด หรือคาดคั้น จะท าให้ผู้เรียนรู้สึกถูกกดดัน และไม่ปลอดภัย
4. การมองข้ามความคิด และความรู้สึก จะท าให้ผู้เรียนรู้สึกขาดการยอมรับ และขาดความมั่นใจ
เทคนิคและทักษะการสะท้อนคิด
ในการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด สามารถน าเทคนิคและทักษะการสะท้อนคิดมาประยุกต์ใช้ได้ทั้ง
การจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยสามารถท าได้หลากหลายวิธี แต่ที่นิยมใช้บ่อยคือ การ
เขียนบันทึกเพื่อสะท้อนการเรียนรู้ การแสดงบทบาทสมมุติ การใช้ภาพศิลปะกระตุ้นการสะท้อนคิด และการ
ใช้สถานการณ์จ าลอง เป็นต้น จากการรวบรวมเทคนิคและทักษะการสะท้อนคิดเสนอไว้ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. การเขียนบันทึกสะท้อนคิด (Reflective journal) การเขียนบันทึกสะท้อนคิดเป็นการ
เขียน เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง การส ารวจสิ่งที่ได้กระท าที่ท าให้เกิดเหตุและผล การเรียบ
เรียงความคิดเชื่อมโยงสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเน้นถึงความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของตนเอง (Iwaoka, 2007) ในการ
น ามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนอาจมอบหมายงานให้ผู้เรียนเขียนสิ่งที่ตนเอง ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่
ผ่านมา 1 – 2 หน้ากระดาษ เขียนบันทึกการเรียนรู้ที่ได้จากประสบการณ์ที่ได้รับในแต่ละสัปดาห์ สิ่งส าคัญ
ของการใช้การบันทึกในชั้นเรียนให้ประสบความส าเร็จคือ ผู้สอนจะต้องชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้แบบ
สะท้อนคิดให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างชัดเจนก่อนการลงมือปฏิบัติว่าเป็นสิ่งที่จะท า ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การ
เขียนที่สะท้อนการคิดมีหลายลักษณะ ได้แก่ การเขียนบรรยาย การเขียนบรรยายสะท้อนเหตุผลการเขียน
สะท้อนความคิดในรูปแบบการสนทนากับตนเอง และการเขียนสะท้อนอย่างมีวิจารณญาณ (Ward, 2011;
Sherwood & Deutsch, 2017)
การเขียนบันทึกสะท้อนคิด เป็นเครื่องมือส าคัญที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความคิดทางทฤษฏี
กับการปฏิบัติ (Taylor-Haslip, 2009) ในการศึกษาทางการพยาบาล ผู้สอนใช้การเขียนบันทึกสะท้อนคิด