Page 54 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 54
ตามแนวคิดของ Gibbs (1988 as cited in Jasper, 2003, p. 71 - 105) ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน โดยสรุป
ดังนี้
1) การบรรยายที่เหตุการณ์ที่เกิดจากความรู้สึกที่ก าลังเผชิญกับสถานการณ์นั้นๆ
2) การบอกเล่า อธิบาย แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์ที่เกิดขึ้น
3) การประเมินประสบการณ์ ในด้านบวก และด้านลบ
4) การวิเคราะห์สถานการณ์โดยภาพรวม
5) การสรุปแนวคิดและวิธีแก้ไขปัญหา โดยใช้เหตุผลประกอบ
6) การวางแผนเพื่อการพัฒนาหรือน าไปใช้ในอนาคต
การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
ในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนควรสร้างบรรยากาศการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด (Sheerwood and
Deutsch, 2017) ดังนี้
1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นสิ่งใหม่ ๆ
2. ส่งเสริมกิจกรรมการฟังและกิจกรรมอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
3. ส่งเสริมการแสดงออกด้านทัศนคติที่เปิดกว้าง
4. มีต้นแบบที่ดีในการเปิดรับการเรียนรู้จากทุกประสบการณ์
5. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคิดกลวิธีในการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้
ประสบความส าเร็จ
6. ออกแบบการปฏิบัติเพื่อปิดช่องว่าง หรือลดอุปสรรคของการเรียนรู้
7. สร้างข้อตกลงในการเรียนรู้ร่วมกัน
ขั้นตอนการด าเนินการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
การจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดมีวิธีการด าเนินการที่ส าคัญประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ทบทวนวัตถุประสงค์รายวิชาและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่
ส าคัญเพราะจะช่วยให้ผู้สอนมีโอกาสพิจารณาและตัดสินใจว่าในรายวิชานั้นๆ ต้องใช้กลยุทธ์การสอนที่เน้น
ทักษะสะท้อนคิดหรือไม่ อย่างไร ดังได้กล่าวไปแล้วในตอนต้น การสะท้อนคิดเป็นกิจกรรมการสอนที่ช่วยให้
ผู้เรียนเกิดทักษะทางปัญญา เช่น การตระหนักรู้ในตนเอง การคิดอย่างเป็นระบบ การแก้ปัญหาโดยใช้
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือการวิจัย การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เป็นต้น นอกจากนี้การสะท้อนคิดยัง
เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสะท้อนประสบการณ์ในมุมมองจริยศาสตร์ จึงเป็นการสอนอีกวิธีที่ช่วยพัฒนาผล
การเรียนรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรม
2. ก าหนดหัวข้อที่จะจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด รวมทั้งจ านวนชั่วโมง ระยะเวลา รูปแบบ
การจัดการเรียนการสอน สื่อการสอน วิธีการประเมินผล สัดส่วนคะแนนและการประเมินผล