Page 57 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 57

เพื่อให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงและบูรณาการประสบการณ์ทางคลินิกกับความรู้ทางทฤษฏีการพยาบาล (Taylor-

               Haslip, 2009)

                       การเขียนบันทึกสะท้อนคิดในชั้นเรียนหรือการฝึกภาคปฏิบัติ ผู้สอนจะต้องมอบหมายการเขียนบันทึก

               เป็นส่วนหนึ่งของชิ้นงานในรายวิชา ผู้สอนจะต้องอธิบายชิ้นงานให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างชัดเจนในวันแรกของการ
               อธิบายรายวิชา หลังจากนั้นผู้สอนจะต้องสอน อธิบายและชี้แนะแนวทางในการเขียนบันทึกแก่ผู้เรียน เช่น

               ความหมายของการสะท้อนคิด เทคนิคการเขียนบันทึก และเทคนิคการสะท้อนคิด ต่อมาผู้สอนจะต้องติดตาม

               ความก้าวหน้าของชิ้นงาน และสนับสนุนผู้เรียนให้ประสบความส าเร็จ ในการเขียนบันทึกแต่ละครั้งผู้สอน
               จะต้องให้ข้อเสนอแนะที่ชัดเจนแก่ผู้เรียน เพราะข้อเสนอแนะจะช่วยให้ผู้เรียนตระหนักถึงระดับของการ

               สะท้อนคิด และปรับปรุงการเขียนบันทึกของตนเอง (Taylor-Haslip, 2009)


                       การน าการเขียนบันทึกสะท้อนคิดไปใช้เป็ นชิ้นงานในรายวิชา
                      การใช้การเขียนบันทึกเป็นชิ้นงานในรายวิชา ผู้สอนจะต้องเชื่อมโยงชิ้นงานกับผลลัพธ์การเรียนรู้

               (Learning outcome) ของรายวิชา หรือรายบทว่า ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไรจากการเขียนบันทึก
               (Bulman & Schutz, 2013)




                  ตัวอย่าง การเชื่อมโยงชิ้นงานกับผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning outcome) ของรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัว
                  และชุมชน 1 (ดัดแปลงจาก Bulman & Schutz, 2013)


                  ชิ้นงาน: การเขียนบันทึกการเรียนรู้โดยการสะท้อนคิด (Reflective learning journal)
                         การเขียนบันทึกการเรียนรู้โดยการสะท้อนคิดถูกออกแบบให้ผู้เรียนน าเสนอสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้

                 จากรายวิชา ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 1 และ 2  โดยใช้กรอบแนวคิดการสะท้อนของกิ๊บส์ (Gibbs’ reflective
                  framework)

                         ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 1 และ 2

                         เมื่อสิ้นสุดรายวิชา ผู้เรียนสามารถ
                         1. วิจารณ์มุมมองของพยาบาลอนามัยชุมชนและผู้รับบริการ ในการให้บริการแก่ผู้รับบริการที่บ้าน
                         2. ประเมินผลการเรียนรู้ในรายวิชาของตนเอง โดยการเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฏีและการ

                  ปฏิบัติการพยาบาลผ่านการสะท้อนคิด



                       การใช้กรอบแนวคิดการสะท้อนคิดของกิ๊บส์ (Gibbs’ reflective framework) ในการเขียนบันทึก

               สะท้อนคิด 6 ขั้นตอน ดังนี้
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62