Page 55 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 55

3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด หัวข้อที่จะจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการ

               เรียนรู้แบบสะท้อนคิด
                              4. ด าเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ตามแผนที่วางไว้ โดยผู้สอน

               ทบทวนทักษะต่างๆ แก่ผู้เรียน ได้แก่

                                     - การตั้งค าถาม (Questioning)
                                     - การให้ข้อมูลป้อนกลับ ( Feedback)

                                     - การบทสนทนา (Dialogue)
                                     - การเขียนบันทึกสะท้อนคิด (Reflective journal)

                              5. ประเมินผลการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด โดยใช้แบบประเมินการสะท้อนคิด

               และประเมินผลการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
                              6. ประชุมกลุ่มผู้สอน หรือผู้ร่วมสอนในประเด็นการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด และ

               แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด ได้แก่ การท าวิจัย การถอดบทเรียน การจัดการความรู้
               เป็นต้น



               ปั ญหาที่พบบ่อยในการเขียนบันทึกสะท้อนคิดและแนวทางการแก้ปั ญหา


                       การเลือกประเด็นในการเขียนบันทึกไม่ได้
                       การเขียนบันทึกการสะท้อนคิดเริ่มจากการทบทวนประสบการณ์ในชั้นเรียนหรือประสบการณ์การฝึก

               ภาคปฏิบัติ และค้นหาว่า ประสบการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดการเรียนรู้ในประเด็นใดบ้าง จากนั้นเลือกประเด็นที่

               น่าสนใจเพียงประเด็นเดียวมาท าการวิเคราะห์

                       การจัดล าดับความคิดและการเชื่อมโยงความคิดไม่เหมาะสม
                       ผู้สอนพัฒนาทักษะการตระหนักรู้ในตนเองของผู้เรียน โดยการให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเขียนบันทึกการ

               สะท้อนคิดบ่อยๆ เพราะการเขียนจะช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ทบทวนจัดล าดับความรู้ ความคิด และความรู้สึก
               ของตนเอง เกิดการเชื่อมโยงความคิดน าไปสู่การเข้าใจตนเอง และเข้าใจผู้รับบริการ


                       ขาดทักษะการเขียนและการใช้ภาษา
                       ผู้สอนชี้แจงให้ผู้เรียนรับรู้แนวทางการเขียนบันทึกสะท้อนคิด ขั้นตอนการเขียน แนวทางการ

               ประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนได้ตรงประเด็น โดยผู้สอนเป็นที่ปรึกษา ชี้แนะและกระตุ้นผู้เรียนในการ

               เขียน รวมทั้งจัดเตรียมห้องสมุดและระบบสารสนเทศเพื่อเกื้อหนุนการค้นคว้าข้อมูล เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิด
               ความตื่นตัวในการค้นคว้าข้อมูลและเขียนบันทึกการสะท้อนคิดได้ดียิ่งขึ้น


                       การมีเวลาจ ากัด
                       ผู้สอนค านึงถึงระยะเวลาในการเขียนบันทึกสะท้อนคิด โดยให้เวลาในการคิดและเขียนที่เหมาะสม
               ทั้งนี้ต้องค านึงถึงภาระงานของผู้เรียนว่ามีมากเกินไปหรือไม่
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60