Page 60 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 60
2. การสะท้อนคิดรายกลุ่ม
การสะท้อนคิดรายกลุ่มเป็นอีกวิธีการหนึ่งของการสะท้อนคิด โดยสรุปขั้นตอนการสะท้อนคิดรายกลุ่ม
ดังต่อไปนี้
1) ก่อนกำรเริ่มกลุ่ม ผู้สอนจะต้องเตรียมสถานที่ที่เหมาะสมส าหรับการสะท้อนคิดรายกลุ่ม
แจ้ง ผู้เรียนเกี่ยวกับสถานที่ วัตถุประสงค์การสะท้อนคิดรายกลุ่ม และจัดเตรียมเวลาที่เพียงพอส าหรับการท า
กลุ่ม
2) ขั้นเริ่มกำรท ำกลุ่ม
- ในการท ากลุ่ม ผู้สอนจะต้องเตรียมสิ่งแวดล้อมที่ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยและสะดวกใจที่
จะแลกเปลี่ยนความคิดในระหว่างการสะท้อนรายกลุ่ม
- ก่อนเริ่มกลุ่ม ผู้สอนจะต้องท ากิจกรรมละลายพฤติกรรม (Ice breakers) เพื่อให้
ผู้เรียนได้รู้จักกัน ถึงแม้ว่าผู้เรียนจะรู้จักกันมาก่อนก็ตาม โดยในการท ากิจกรรมกลุ่มอาจจะใช้ค าถามที่ท าให้
ผู้เรียนรู้จักกันมากขึ้นทั้งทางด้านการเรียน และข้อมูลส่วนตัว
- ซักถามผู้เรียนเกี่ยวกับประสบการณ์การสะท้อนคิด หากผู้เรียนไม่มีประสบการณ์
หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับการสะท้อนคิด ผู้สอนจะต้องมีการเตรียมผู้เรียนเพื่อให้เข้าใจหลักการ วิธีการและ
ขั้นตอนของการสะท้อนคิดรายกลุ่ม
- หากผู้สอนเห็นว่าผู้เรียน ไม่พร้อม หรือมีความกังวลในการท ากลุ่ม ผู้สอนจะต้อง
แก้ปัญหาให้ผู้เรียนพร้อมก่อนเริ่มกลุ่ม
3) ขั้นก ำหนดกติกำกลุ่ม
ขั้นตอนนี้ผู้สอนและผู้เรียนจะต้องร่วมกันก าหนดกติกากลุ่ม ได้แก่ การรักษาความลับ การ
ตั้งใจฟัง การไม่ตัดสินผู้อื่น การมีสิทธิ์ในการไม่พูด และเวลาในการเริ่มต้นและสิ้นสุดกลุ่ม
4) ขั้นด ำเนินกำรสะท้อนคิด
ผู้สอนจะต้องอธิบายประเด็นหรือเหตุการณ์ที่ต้องการให้ผู้เรียนสะท้อนคิดรายกลุ่ม และ
จะต้องมั่นใจว่าผู้เรียนมีความสะดวกใจที่จะแสดงความคิดเห็นทั้งในสถานการณ์ที่ผู้เรียนปฏิบัติได้ดีและไม่ดี
- วิเคราะห์ประเด็นโดยใช้กรอบแนวคิดของการสะท้อนคิด เช่น กรอบแนวคิดของ
กิ๊บส์ หรือของดิวอี้
- ส ารวจทฤษฏีที่เชื่อมโยงกับการปฏิบัติ
- ระบุบทเรียนหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว
- ระบุการกระท าที่สามารถช่วยให้บรรจุเป้าหมายของการสะท้อนคิดรายกลุ่ม
5) ขั้นปิดกลุ่ม
- สรุปการท ากลุ่มและผลลัพธ์ของการท ากลุ่มครั้งนี้
- ระบุสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องเตรียมส าหรับการท ากลุ่มครั้งต่อไป
- ประเมินผลผู้เรียนหลังสิ้นสุดกลุ่ม