Page 49 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 49
แบบฝึกหัดรายคู่: ทิศทางและจุดมุ่งหมาย (Directions and destinations) (30-60 นาที)
จับคู่และสลับกันอธิบายแผนที่ชีวิต ตั้งใจฟังขณะเพื่อนน าเสนอ หากส่วนใดไม่เข้าใจให้ถาม
ค าถาม เพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเลือกใช้ค าถามเหล่านี้
ผู้เรียนอยู่ส่วนใหญ่ในแผนที่
ส่วนไหนของแผนที่ที่มีความเข้มแข็งทางอารมณ์มากที่สุด อารมณ์นั้นคืออะไร
มีใครอยู่ในแผนที่ผู้เรียนบ้าง
มีผู้รับบริการอยู่ในแผนที่ผู้เรียนหรือไม่ เพราะเหตุใด
อะไรที่กินพื้นที่ส่วนใหญ่ของผู้เรียน เพราะอะไร
มีพื้นที่ว่างในแผนที่ของผู้เรียนหรือไม่ ถ้ามีมันควรจะเป็นพื้นที่ว่างหรือมีสิ่งใดที่
ผู้เรียนลืมเติมในแผนที่
แบบฝึกหัด การวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ (Critical analysis)
ในการฝึกการสะท้อน ทักษะที่ส าคัญในการวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วยกิจกรรมเหล่านี้
1. ระบุและอธิบายองค์ความรู้ที่ผู้เรียนมีที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น โดยองค์ความรู้แบ่ง
ออกเป็น 4 ประเภท คือ องค์ความรู้เชิงประจักษ์ (Empirical knowledge) ความรู้ที่ถูกพัฒนาผ่านการวิจัย
เกิดจากความจริงและทฤษฏี องค์ความรู้เชิงสุนทรียศาสตร์ (Aesthetic knowledge) ความรู้เชิงศิลป์ทางการ
พยาบาล องค์ความรู้เชิงบุคคล (Personal knowledge) ความรู้ที่บุคคลค้นพบด้วยตนเองผ่านทางการกระท า
หรือการเรียนรู้ และองค์ความรู้เชิงจริยธรรม (Ethical knowledge) ความรู้ที่เกี่ยวกับความถูกต้อง การ
ตัดสินใจทางจริยธรรม
2. ส ารวจ ตรวจสอบ ความรู้สึกของผู้เรียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ และอิทธิพลของความรู้สึกต่อ
เหตุการณ์
3. ระบุสมมติฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น และทดสอบสมมติฐาน
4. จินตนาการและค้นหาทางเลือกของการกระท า
แบบฝึ กหัดรายบุคคล: วิเคราะห์องค์ความรู้ของผู้เรียน (Analyzing your knowledge)
(30 นาที)
ใช้สถานการณ์ จากแบบฝึกหัด ฉันจ าได้เมื่อ… (I remember when…) คิดเกี่ยวกับองค์ความรู้ที่
เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเหตุการณ์ เขียนรายละเอียดขององค์ความรู้และแหล่งของ
องค์ความรู้
แบบฝึกหัดรายคู่: อภิปรายความรู้ของผู้เรียน (Discussing your knowledge) (30 – 60 นาที)
จับคู่แลกกันอ่านสิ่งที่ผู้เรียนและเพื่อนเขียนอธิบายในแบบฝึกหัด ฉันจ าได้เมื่อ… (I remember
when…) จากนั้นอภิปรายทีละเหตุการณ์เกี่ยวกับองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ด้วยกัน
องค์ความรู้ที่ผู้เรียนและเพื่อนคิดในแต่ละเหตุการณ์ เหมือนหรือต่างกัน
หากแตกต่าง ระบุเหตุผลว่าเหตุใดจึงแตกต่าง
อภิปรายกับคู่ของผู้เรียนว่าความรู้ใดที่ส าคัญที่สุดในเหตุการณ์นั้น
อภิปรายกับคู่ของผู้เรียนเกี่ยวกับองค์ความรู้อื่นๆ หรือใหม่ที่เกี่ยวกับกับเหตุการณ์
รวมถึงเสนอแนะทางเลือกขององค์ความรู้ที่น าไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่