Page 66 - คู่มือ RF -kt-20-08-2018-4-45 (ฉบับเต็ม)_(29-08-18)
P. 66

วิธีการวัดและประเมินผลการสะท้อนคิด

                      การวัดและประเมินผลการสะท้อนคิดมีวิธีการประเมินหลากหลายวิธี ได้แก่
                              1. ประเมินตามสภาพจริง (Authentic assessment) ในการประเมินแต่ควรมีการท า

               ข้อตกลงระหว่างผู้สอนและผู้เรียนซึ่งจะต้องมีการก าหนดสิ่งที่ต้องการวัดให้ชัดเจน

                              2. ประเมินจากการเขียนบันทึกสะท้อนคิด  (Reflective Journal) โดยให้เขียนภายหลัง
               การเรียนรู้ในแต่ละวัน หรือสัปดาห์ ว่าต้องการเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม มีปัญหาด้านใดบ้าง ต้องการอะไร เพื่อเป็น

               แนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป  กระบวนการฝึกฝนการสะท้อนคิด ท าให้ผู้เรียนคิดอย่างมี
               วิจารณญาณ (Critical thinking) ซึ่งเป็นผลลัพธ์โดยตรงของกระบวนการสะท้อนคิด ซึ่งการฝึกสะท้อนคิด

               สามารถฝึกได้โดยวิธีการเขียน (Writing) และวิธีการพูด (Verbal) โดยสามารถท าเป็นรายบุคคลหรือท าเป็น

               รายกลุ่ม  การเขียนบันทึกสะท้อนคิด เป็นเครื่องมือส าคัญที่ผู้สอนใช้ในการกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมถึง
               กระตุ้นทักษะการสะท้อนคิด ส่วนบันทึกสะท้อนคิดเป็นเอกสารที่ผู้เรียนเขียนขึ้น เพื่อบรรยายประสบการณ์

               การเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ในระหว่างการเรียนทฤษฏี ฝึกปฏิบัติ หรือแม้แต่เหตุการณ์ในชีวิตประจ าวัน
               บันทึกสะท้อนคิดจึงเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความสามารถของกระบวนการคิดและกระบวนการเรียนรู้ต่างๆของ

               ผู้เรียน การสะท้อนคิดด้วยการเขียน ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เข้าใจตนเอง แก้ปัญหา

               และเรียนรู้เกี่ยวกับการกระท า จากการเขียนสิ่งที่เรียนรู้ เป็นการบันทึกเกี่ยวกับความคิด เมื่อท าบ่อยๆ จะ
               กลายเป็นสิ่งที่เรียนรู้อย่างถาวร เมื่อผู้เรียนเขียนความคิดลงไป ความคิดเหล่านั้นจะถูกจัดรูปแบบ ให้เป็นระบบ

               ดีขึ้นการเขียนช่วยท าให้ผู้เรียนเข้าใจและวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างลึกซึ้ง


                       การเขียนสะท้อนคิด เป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคิดจากความพยายามที่จะอธิบายและสื่อสาร

               ให้บุคคลอื่นทราบเกี่ยวกับความรู้ และความรู้สึกของตนเองที่มีอยู่ในแต่ละสถานการณ์ ที่เกิดขึ้น  การเขียน
               เกี่ยวกับประสบการณ์ในรูปแบบของการบันทึกสิ่งที่เป็นประโยชน์ จะท าให้ผู้เรียนเกิดความชัดเจนในความรู้

               และการกระท าของตนเอง นอกจากนี้ยังท าให้ผู้เรียนสามารถที่จะเปิดใจในการประเมินตนเอง ส่งเสริมทักษะ

               การรู้จักตนเองมากขึ้น การเขียนอาจท าโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน ในการบันทึกสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถ
               ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาแนวความคิดของผู้เรียนในการมองย้อนถึงการกระท าของตนเองในแต่ละครั้งได้ การ

               ก าหนดให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนคิดในหัวข้อและในระยะเวลาที่ก าหนดจะช่วยให้เกิดความคิดที่ต่อเนื่องและ
               คงทน เนื่องจากการการเขียนจะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นภาพของประสบการณ์ที่ผ่านมาของตนเองได้ชัดเจน มี

               การผสมผสานความคิดและสะท้อนความคิดของตนเอง สิ่งส าคัญที่พบอีกอย่างหนึ่งคือ การเขียนสะท้อนคิดท า

               ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากการคิดถึงสิ่งที่ผ่านมามาอย่างรอบคอบ การสะท้อนความคิดโดยการ
               เขียน เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอธิบายแนวความคิดและความเข้าใจในสถานการณ์ มีการ

               แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก ความเชื่อ เพื่อน าไปสู่การพัฒนาการรู้จักตนเองมากขึ้น การเขียนสะท้อนคิดนี้

               ยังเหมาะกับผู้เรียนที่ไม่ค่อยชอบพูด ท าให้ผู้เรียนมีโอกาสได้แสดงความรู้สึกความคับข้องใจต่างๆที่ได้จากการ
               ฝึกปฏิบัติและน าไปสู่การพัฒนาทักษะในการค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาต่อไปได้
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71